Sunday, December 25, 2011

Gore-Tex เล็กน้อย

Rating:
Category:Other
นิดๆหน่อยๆสำหรับใครที่ชอบเดินป่า จากผมเองที่ไม่ใช่เซียน
เพราะส่วนมากอยู่ในเมือง แต่เห็นปรกติหาอ่านไม่ค่อยเจอ และแค่ฟังๆเขามา งูๆปลาๆ
ใครเลือกเสื้อกันฝนกันลมก็คงเคยได้ยิน Gore-Tex นะครับ มันเป็นยี่ห้อของสิ่งทอที่
มีมาสักยี่สิบกว่าปีได้แล้วมั๊ง เริ่มจากเอามาทำชุดให้หมอใส่ผ่าตัด หลังๆถึงเอามาทำ
เกี่ยวกับอุปกรณ์กีฬาและอื่นๆขาย
เล่าให้ฟังก่อนนิดว่า Gore-Tex มันมีไว้กันน้ำกันลมเท่านั้น ไม่ได้กันหนาว กันหนาวได้แค่ไหนขึ้นกับ
middle & inner layer ที่เอามาใส่ ยกเว้นบางรุ่นที่เขาทำช่องฉนวนให้มาพร้อมกับสิ่งทอเลย แต่มันก็ช่วยได้แค่นิดหน่อย
ทีนี้พูดถึงกันน้ำ ทั้งเสื้อทั้งรองเท้าเวลาไปซื้อคนขายมักบอกกว่ากันน้ำได้สุดยอดบ้าง 100% บ้าง
อย่าไปเชื่อครับ กันน้ำได้ขนาดนั้ำนก็ใส่ชุดดำน้ำ dry suit เท่านั้น
หลักการของ Gore-Tex คือมันกันน้ำเข้าครึ่งหนึ่งและระบายไอน้ำออกครึ่งหนึ่ง มันจึงใส่แล้วสบาย
เขาใช้พวกนาโนเทคโนโลยี่ เอาน้ำหยดลงไปน้ำมันจะไม่ซึมเข้าในตัวผ้าเหมือนน้ำไหลบนใบบัว
(นอกเรื่อง น้ำผึ้งก็ไหลบนใบบัวได้)
พวกที่กันน้ำได้ 100% มันก็เหมือนเอาถุงพลาสติกมาห่อตัวไว้น่ะครับ สักพัก เหงื่อเต็ม เพราะมันกันน้ำออกด้วย

ทีนี้ใครไปซื้อเสื้อ Gore-Tex อาจจะงง
เพราะมันดันมี Gore-Tex ที่เอามาทำเป็นชั้นเปลือกนอก (Shell) หลายเกรดอีก (งงว่าทำไมมันแพงด้วย)
ที่จริงต่างยี่ห้อกันแหล่งผลิตต่างกันคุณภาพก็ต่างกันอีก แต่อันนั้นก็พึ่งพระเจ้าเอาละกันว่าจะได้เกรดดีหรือไม่ดี
หากไปเปิดอ่านในเว็ปภาษาอังกฤษ
เขาจะไม่แยกไว้ชัดเจนเท่าไหร่ว่าต่างกันยังไง อ่านๆดูแต่ละ shell มันดูดีเหมือนกันหมด
ผมเลยเอามาเรียงให้คร่าวๆ
จากถึกสุด ไปถึงแบบใส่ลำลองๆคือ

1) Pro Shell
2) Performance Shell
3) Active Shell
4) Pacelite Shell
5) Soft Shell

1) Pro Shell
ถึุกสุด มีทั้งแบบ 2 และ 3 layer (หมายถึงหลายชั้นรวมกันเป็นแผ่นเดียวเลย แยกไม่ได้) ยิ่งหลาย Layer
ยิ่งถึก ยิ่งหายใจได้ดีกว่า แต่มันอาจมากับความแข็งด้วย เสื้อ Pro Shell
เขามักจะทำมาแยกต่างหากไม่มีชั้นกันหนาว middle/inner รวมมา เพราะมันสำหรับใส่ได้ทุกสภาพ
อากาศ tri-climate หนาวแค่ไหนก็ไปหาเสื้อพวกขนแกะ ขนแกะเทียม หรือขนนก อะไรก็แล้วแต่มาใส่ข้างในเอาเอง
มักจะมีซิ๊ปไว้เปิดด้านข้างลำตัวเพื่อระบายอากาศ เวลาซื้อให้ดูว่าดึงเปิดได้ด้วยมือข้างเดียวหรือเปล่า ความฟิต
เวลายกแขนขึ้นแล้วเสื้อมันไม่เลื่อนตำแหน่งมากเกินไป
Pro shell วิธีเทสการกันน้ำกันลมจะหนักกว่า shell แบบอื่นๆ คือมีทั้งแนวดิ่งและยิงน้ำใส่ตรงๆเลย
ส่วนเส้นใยด้านนอกกันการสึกหรอได้ดีกว่า พวกเสื้ออัลไพน์หรือเล่นกีฬาหิมะจะออกแบบเป็น shell แยก
และใช้วัสดุตัวนี้ อีกอย่างที่ต้องดูคือจะใส่หมวก หรือหมวกกันน๊อกไว้ในฮู๊ดหรือเปล่า เพราะขนาดของฮู๊ดมี
ใหญ่เล็กไม่เท่ากัน เอาฮู๊ดครอบศรีษะแล้วปิดบังทัศนะวิสัยหรือไม่ เท่าๆที่ดูๆมา ยี่ห้อ Arcteryx ดีกว่าเขา
ที่สำคัญ Pro-Shell มันแพง หยิบๆดูมันก็คล้ายๆกับเสื้อกันฝนราคาหมื่นสองหมื่นเลย ส่วนมากไม่ทำชั้นใน
มาให้ มีแต่ชั้นนอกบางๆ


2) Performance Shell
ถึกน้อยลงมาหน่อย ใช่เทคโนโลยี่ที่มีท่อเป็นฉนวนความร้อนอยู่ข้างใน ปรับความต้านทานความเย็นได้โดย
เป่าลมเข้าท่อ แบบนี้มักจะเอามาทำรวมกับเสื้อให้ความอบอุ่นชั้นใน
บางทีก็มีซิ๊ปแยกออกจากกันเป็นเสื้อสองตัวได้ หรือบางทีก็ถอดแยกออกจากกันไม่ได้
เสื้อกันหนาวส่วนใหญ่ในท้องตลาดที่นักเดินทางนิยมจะเป็นแบบนี้กับแบบอื่นที่ถึกน้อยกว่า
มันต่างกับ Pro Shell มันไม่ทนการสึกกร่อนเท่า แต่รู้สึกเทสน้ำแบบทะลุทะลวงใน standard ที่เหมือนกัน


3) Paclite Shell
อันนี้มันดูอ่อนๆ คือไม่กันสึกหรอมาก แต่กันลมกันน้ำและหายใจได้ดีและเบากว่า
ออกแบบมาตามชื่อคือพับเก็บแล้วมีขนาดเล็ก


4) Active Shell
น้อยลงมาหน่อย ลืมไปแล้วว่ามันเป็นยังไง จำได้ว่ามันจะบางๆมากหน่อย
หายใจได้ดีมาก สำหรับใส่ได้ทั้งวันโดยไม่มีไอน้ำเกาะตัวด้านในทำให้รู้สึกไม่สบายตัว
ใช้กับการเล่นกีฬาที่เหงื่อออกเยอะๆได้
ไว้นึกได้จะมาเขียนต่อครับ


5) Soft Shell
อันนี้มันจะอ่อนๆเลย ยืดได้ กันหนาวนิดๆ กันลมนิดๆ หายใจได้ดี สรุปคืออย่างๆละนิดๆแต่ไม่ถึงที่สุดสักอย่าง
ไม่กันการสึกถลอกขัดถู abrasion ประมาณว่าใส่ออกกำลังกายเช่นใสวิ่ง ระบายเหงื่อได้ดี กันได้แค่เย็นๆไม่มาก ใส่ขี่จักรยานก็เวิร์ค ขาดง่ายกว่าแบบอื่น





ทั้งนี้ในโลกนี้มันก็ไม่ใช่ว่าจะมีแค่ Gore-Tex แต่ยังมีพวก eVent, Hyvent, Precip ฯลฯ อย่างยี่ห้อโคลัมเบีย
เขาก็พัฒนาเส้นใยของเขาเอง
Gore-Tex จะดังกว่าเขา เวลาใส่มันจะเหมือนใสผ้าไนล่อน จะมีเสียงดัง เขาใช้วิธี Larminate เส้นใยชั้นต่างๆเข้าหากัน
ส่วน Hyvent นั้นใช้วิธี coat หรือเคลือบสารเคมีเข้ากับเส้นใยผ้าเปลือกชั้นนอก มันจะหายใจได้ไม่ดีเท่า Gore-Tex
และอดทนน้อยกว่า
ส่วน eVent นั้นมาใหม่ได้ไม่กี่ปี เขาบอกว่าเป็นวัสดุเส้นใยที่หายใจได้ดีที่สุดขณะนี้ ใช้ใน uniform ทหาร
แต่ไม่ต่างกันมากหรอกครับ หลักๆข้างบนนั้นมันเป็นพวกวัสดุสังเคราะห์ที่ผมบอกแล้วว่าเวลาใส่มีเสียงดัง
และให้ความรู้สึกกึ่งๆพลาสติก ขาดทีก็งงว่าจะซ่อมยังไง



ถ้าไม่อยากได้อย่างงั้นก็ต้องเป็นเส้นใย Tincloth (เช่นยี่ห้อ Filson) กับ Ventile ซึ่งเป็น Cotton ลงพาราฟิน
เป็นวัสดุธรรมชาติ ผมคิดว่าเป็นวัสดุที่ถึกทนสุดในเรื่องกันการขูดเกี่ยวและสึกหรอ กันลม กันน้ำ และหายใจได้ดี
ตัวแจ็คเก็ตดูเหมือนเสื้อผ้าธรรมดาที่ใ่ส่กันทั่วไป ไม่มีเสียงดัง
ไม่มีความรู้สึกเหมือนใส่พลาสติกเหมือนพวกวัสดุสังเคราะห์
ลองนึกถึงพวกทำไม้ในป่า ลากซุง จะชอบใช้พวกนี้เพราะมันทนต่องานหนัก
แต่มันก็มีน้ำหนักมากกว่าเขา ไม่เหมาะกับการปีนเขาหรือเล่นกีฬาหิมะอะไรพวกนั้น

เซียนท่านไดมาเห็นหากผมเขียนผิดก็กรุณาชี้แนะได้ครับ

ขายไม่ออกก็ให้มันรู้ไป

Tuesday, November 15, 2011

我的朋友林良恕 穿越邊境的志工人生 .

Rating:★★★
Category:Other
by 林瑞珠 on Monday, November 14, 2011 at 11:04pm


在臉書剛剛貼上林良恕即將在台北舉辦的兩場義賣訊息,就收到來自高雄地球公民基金會副執行長王敏玲的訊息,詢問這位在泰緬邊境從事難民及少數民族扶助工作多年的林良恕,是不是20年前曾經在張老師月刊服務的那位?如果是的話,就是她的同事。我傳了幾則良恕的影片資料與敏玲核對,很快的,回復訊息提到:「是她。沒想到當年她辭職一去,就堅持那麼多年。」


良恕與敏玲一別,就是人生忽忽二十幾年,而這麼多年當中,他除了其中一年被派赴前往更荒涼悽慘的非洲之外,不曾遠離泰緬邊境,已然成了當地台灣志工的大姐大。


而我,與良恕結識於2006年10月,當時和友人一起到泰北採訪,路過清邁,她來我們下榻的旅館訪友。初次見面,未及深談,但從她優雅的儀態及緩緩流溢的堅毅氣質,甚至臉部線條,很容易讓人感受到她的超凡特質,只是,有那麼一抹淡淡的哀傷朦在臉上,言談之下,得知她在泰緬邊境美索地區從事緬甸難民及少數民族服務已經十幾年了,主要以婦女的就業及兒童、青少年助學為主,當時因為喪夫年餘,仍無法從悲傷中走出來。

良恕淡淡的講著她的離奇遭遇,卻沒半點自憐自哀,只是帶著傷感的心情,繼續在泰緬邊境的美索地區(Mae Sot)為難民服務,和當地友人成立了幾個功能不同的非政府組織,並與難民組織及國際非政府組織合作密切,例如有「緬甸德雷莎」之美譽,曾獲得時代雜誌2003年度「亞洲英雄」獎,並曾來台接受前總統陳水扁頒發「2007年亞洲民主人權獎」的邊境地區「梅道診所」創辦人辛西雅醫師,就是長期與良恕合作的伙伴;近年來,在台灣積極推廣海外志工服務概念而頗負盛名的《邊境漂流》作者賴樹盛,亦是她親手調教出來的「徒弟」。

20年海外志工生涯並非偶然

走向海外志工之路並非良恕林從小立下的志願,亦非朦朦懂懂誤打誤撞,而是自然而然的走上這條路。


二十八歲之前,良恕和一般都會女子沒有兩樣,愛漂亮、嗜美食,比許多人搶先於時尚尖端,但浮華世界的多采多姿無法滿足於她,心裡頭總是隱隱約約感受到,這一切都不是自己真正想要擁有的東西,她期待著有朝一日的蛻變。而這一天,終於來臨了。


在偶然的機會裡,林良恕得知中國人權協會所成立的「台北海外和平服務團」(Taipei Overseas Peace Service英文簡稱TOPS)正在招收海外志願服務人員,她知道機會來了,前往一試,竟也錄取了,於是開啟了迄今二十餘年的中南半島難民服務生涯。


在泰緬邊境烽火下的援助工作


被派駐海外的初期,良恕擔任TOPS工作團的領隊一職,負責扶助泰緬邊境的難民及少數民族有關生活、醫療、教育等工作。在那風聲鶴唳的邊境,可謂險象環生,隨時都有可以受到緬甸軍政府的越境突擊,雖然是國際非政府組織的一員,卻與緬甸難民們一樣處於恐懼之中。但她的壓力不僅於此,白天必須承擔繁重的工作,晚上可能要躲避襲擊,還得為工作團募款,因為中國人權協會只提供部分金額,其他就得靠領隊傷腦筋了,所以,忙碌之餘,還得抓緊時間寫計畫提案,不然經費無著,整個團隊就可能面臨解散的危機。
到海外扶助難民的初期,真是備感艱辛,其中一年,被派赴東非肯亞,經歷了一段非常特殊的人生歷練。當時,她在抵達的第十天就患了瘧疾,足足在床上躺了三天三夜才適應了當地風土與役病。


由於物資非常缺乏,加上聯合國難民公署(UNHCR)所發的糧食比起泰境難民營簡直天壤之別,讓這裡大部分的人都掙扎在飢餓與疾病之中,這樣的景況她是早有預期的,所以既來之則安之,在難民營裡搭了一年的帳棚,白天工作愁苦,晚上卻有星斗相伴,讓她得以苦中作樂。那樣複雜矛盾的心情,至今仍留在她的部落格中,她告訴遠方家鄉的親友:「眼下的非洲,是個天堂與地獄並存的世界,...我以為一個可以過簡單樸實的生活而又覺得快樂的地方,就是天堂,真希望你們也在這裡與我一起分享這一切快樂和悲傷,以及所有複雜的心情。」


獨自在悲慘的非洲服務一年,她再度被協會調回泰緬邊境,繼續帶領團員,穿越邊境,偶而還要在緬甸軍政府的槍桿子底下出生入死,送物資到緬甸難民的手裡,從事著危險的國際難民援助工作。

服務對象擴及邊境少數民族


在美索二十年後,林良恕的眼界及服務範圍,已從「難民援助」延伸到一些連難民資格都得不到的人,不僅是緬甸人,還有泰國偏遠山區謀生不易的少數民族,包括甲良族、拉呼族、卡慶族等十餘族,這些族人因為生活區域地處偏遠,遠離曼谷都會太遠,又在邊境烽火地區,真的是天高皇帝遠,首都無法顧及。良恕在從事緬甸難民服務之際,也看到這些原本自由往來邊境地區的民族,因為國境的劃分,只能區居一側,謀生大為不易,所以下定決心辭去TOPS領隊一職,希望能提攜這些同樣弱勢的族群,尤其讓婦女能夠經濟獨立,學齡兒童、青少年得以順利就學,這就是2003年之後的主要任務,而促使她下這個重大決定的則是與泰國甲良族Saoo的婚姻。


林良恕與比她小十歲的泰國甲良族Saoo是在2003年8月的一個家庭旅遊中結識,當時良恕帶著母親、姊姊同遊泰國,Saoo擔任她們的導遊,兩人一見鍾情,當天便決定共度一生,這在外人看來真是瘋狂至極。


2004年2月,兩人在Saoo的故鄉Mae Sariang舉行甲良族傳統婚禮,5月小女兒詠玫就出生了。11月,Saoo卻被診斷出肝癌末期,接著下來的五個月,良恕一家經歷了一場充滿淚水的悲傷的抗癌生活,隔年3月,年僅31歲的Saoo便拋下愛妻和10個月大的女兒走了。


帶著難以言喻的悲傷心情,辦完Saoo的後事,林良恕帶著女兒旅行,這一趟,好像是自己前半生的回顧之旅。

首先,她走訪她熟悉的難民營、少數民族村莊,最後一站來到Saoo的故鄉,以紀念她早逝的丈夫及短暫的婚姻,接著回到台灣與母親、姊姊、弟弟、好友重聚,以撫慰她滿心的傷痕。





堅強的人必定不會長期沈溺於悲傷之中,林良恕雖然無法瞬間超脫,但她還是帶著傷痛繼續往前走。2005年10月與友人共同創辦的援助邊境兒童基金會TBCAF(Tak Border hild Assistance Foundation),主要協助邊境的孩子上學,同時持續運作已經成立年餘的Chimmuwa工作室,來協助緬甸難民營及邊境地區不同的少數民族婦女就業,然後在美索邊境開了一家Borderline商店幫忙弱勢的婦女販售手工藝品,並協助流亡泰境的緬甸藝術家持續創作,八年來,Borderline已經成為美索地區遊客必逛的商店及景點,是著名的世界旅遊書寂寞星球(lonely planet)在介紹到美索時,唯一介紹的一家購物商店,因此,因公益而迅速打響名聲,幾乎來到美索的國外遊客都一定來這裡尋寶。





林良恕的扶助工作做得徹底,從孩童的教育到一家生計全然兼顧。和一般商店或企業以營利為目的手段不同,她希望透過Borderline平台,讓少數民族婦女得以藉由商品販售以謀生,所以Borderline的進貨成本非常高,通常是定價的八成,僅餘二成用以維持商店的人事成本及一般開銷。只是,兩成的利潤根本無法支應工作室及商店的開銷,所以剛開始的那幾年,她都以自己的存款的支付這些費用。





這樣畢竟不是長久之計,為了開源,也為了支付生活所需,她開始在邊境地區租幾間房子來做民宿,提供國外觀光客一處簡單乾淨的下榻處所,有了盈餘才能在不傷及老本的情況下補貼Borderline及Chimmuwa的資金缺口。經過多年的努力,Chimmuwa這兩年終於達到損益平衡,可以讓她這個老闆可以領薪水了,而Borderline商店在一些國際組織的資源挹注之下,也差不多得以拖離負債了。她說:「這大概就是所謂的社會企業吧。」





有機農業與安寧照護的推廣





在Borderline商店與Chimmuwa工作室步上軌道,得以獨立作業之後,應該可以喘一口氣的林良恕,似乎也閑不下來。





兩年前,賴樹盛申請到一個基金會的補助金,得以協助林良恕在美索地區種植有機棉花,並推廣有機棉商品,所以這兩年每逢回台灣探親,良恕都會舉辦國內難得一見的有機棉商品義賣,並設定收入的百分之十捐助給泰緬邊境的兒童組織,幫助他們改善教育環境。經過一年的試種卓然有成,林良恕決定在美索地區加入推廣有機農業的行列,以基金會的名義在當地購地,扶助少數民族設立有機示範農場,不但解決部分當地人就業的問題,亦在這污染嚴重的年代推廣友善環境的農業生產方式。





去年又接觸了一些靈修團體,從中體驗到深入的內在心靈力量。她特別推崇清邁的一位靈修老師,那老師原來從事社會運動,在四處尋訪名師學習禪修之後,深深體會到不管什麼運動,都得先放下「仇恨」,才能將運動導向較正面的效果。學成之後,這名老師開了個靈修中心從事peace building的工作,課程融合了女性主義、同志人權、佛教思想,同時也開一些特殊講座或靈修活動,例如在泰國很被忽視的臨終關懷、安寧照護、人妖的心靈諮商等等。





這些課程打開了林良恕的另一片心靈視野,今年四月回台探親時,她參加了蓮花基金會的一系列「安寧療護」課程之後,回到美索便經常跟隨公立醫院的醫生參與安寧療護的工作,每週固定探望病人,並決定籌辦一個將有機農園與安寧療護結合的農場,一則可以推廣有機農業,二則可以照顧在泰國普遍不被重視的的安寧療癒。這個想法主要來自良恕對德雷莎修女的景仰,他希望在自己五十歲之後能夠追隨她的腳步,而下定決心做這件事的動力,則來自Saoo臨終前,一家三口無所依歸的一段漂泊的日子,最後還好有當地友人伸出援手,後來也讓Saoo回到他的家鄉安養。這個經驗,讓良恕更深切的體認到邊境地區尚有更多得不到幫助的難民及國際移工的臨終之苦,他希望自己有能力伸出援手。





良恕說,她其實是希望藉著幫助癌末病人或末期病患來療癒自己心中的缺憾,而那塊缺憾,就是Saoo過於短暫的一生。今年他和女兒回到Saoo的故鄉祭拜過之後,就覺得自己不能再等了,即使尚未準備好,也必須於此刻開始做。





許了這個願望,內心堅定無比,助力也隨之而來,先是突然友人介紹了一塊適合的地,接著朋友之間口耳相傳,也有人捐了第一筆買地的錢,朋友們也紛紛慷慨解囊,看來,未來的一年應是在農場裡打拼的一年。





從為別人好到傾聽難民需求





和許多剛投入設國際志工行列的人一樣,林良恕初入此行時,一直以「為別人好」的態度去執行任務,後來愈深入難民營,才發現所做所為未必是難民所需,漸漸的,她開始聆聽難民們的真正需求,也很平常的看待自己的工作。在一次閒聊中,她淡淡地說:「這個工作是我的興趣,不管是國內還是國外,都有很多人需要幫助,我並不覺得到國外幫助人是一件特別的事,之所以到泰緬邊境去,其實是機緣,尤其我在那裡生了一個女兒之後,更加自然而然定居在那裡,其實之前並不曾特別發願要到那裡。」目前她的工作計畫正是從這樣的出發點來為他們服務。





對許多人而言,到海外當志工有著「濟世助人」的幻想,但對林良恕而言,剛開始或許有那麼一點虛榮心與成就感,但很快的,這件事就成為再自然不過的一件事。她很清楚自己所求,並且正走在自己設定的人生方向上,儘管人生偶有波折與傷感,但她只管做應該做的事,幫助需要幫助的人,因為這點堅持,來自各方的協助總能在她迫切需要時,適時伸出援手,而她的人生也因此愈來愈充實快樂。







林良恕:

1962年生,中興法商學院社會系畢業之後,曾在張老師月刊擔任行銷工作,1989年底參加中國人權協會組織的台北海外和平服務團(英文簡稱TOPS),前往在泰國邊境的中南半島難民營服務來自寮國、柬埔寨、越南的難民,1996被單獨派赴肯亞十個月,1997再度被派赴泰緬邊境美索地區擔任服務團領隊,2003辭去TOPS職務,之後陸續成立服務當地少數婦女及難民營婦女的Chimmuwa工作坊、Borderline商店、邊境兒童基金會TBCAF(Tak Border hild Assistance Foundation),目前增加的服務項目為推廣有機農業及安寧照護。





林良恕鼓勵年輕人的話:

在泰北邊境二十幾年來,每年我都接觸許多環抱著熱情而來到難民營做短期或中長期服務的國際友人,其中不乏來自國民的朋友,對於滿腔熱忱的年輕朋友我有一些建議,當您決定要從事國際援助時,最好能秉持著開放心胸,並融入當地人的世界,以了解他們的想法之後,才可能知道如何解決問題,我們過去的臺灣經驗未必能夠套用其中,一定要把這些成見拿掉,才有可能與當地連結,一起推動一些真正有助於他們的工作。







活動訊息:林良恕的泰緬邊境手工藝品義賣將於主婦聯盟十週年慶中義賣

●活動時間:2011年11月19日(六)12:00-16:00(上午開始場布)

●活動地點:自來水園區 (台北市中正區思源街1號,近捷運公館站1號出口),可於入口處之主婦聯盟服務台索取入場票。




http://www.facebook.com/#!/notes/%E6%9E%97%E7%91%9E%E7%8F%A0/%E6%88%91%E7%9A%84%E6%9C%8B%E5%8F%8B%E6%9E%97%E8%89%AF%E6%81%95-%E7%A9%BF%E8%B6%8A%E9%82%8A%E5%A2%83%E7%9A%84%E5%BF%97%E5%B7%A5%E4%BA%BA%E7%94%9F/225817644150925

ทักษิณ:ผู้มากับลมหนาวท้ายน้ำ : เพิ่งรู้ว่านายกฯ พก กกน. ไปต่างจังหวัดด้วย รอบคอบดีจัง

ตอบโจทย์ ผู้ว่า กทม. โดน ศปภ.วางยายังไง

Conor Grennan : Little Princes

Rating:★★★
Category:Books
Genre: Biographies & Memoirs
Author:Conor Grennan
เจอมาครับ
==============================================



หนุ่ม หน้าตาดีชาวอเมริกัน เชื้อสายไอริช เดินทางไปอีกซีกโลกหนึ่ง ห่างไกลบ้านเกิดกว่าเก้าพันไมล์ไมล์ ดินแดนที่มีพื้นราบเพียงน้อยนิด ขุนเขาสูงเสียดฟ้าตั้งตระหง่านอยู่รอบด้าน ที่สำคัญกำลังมีปัญหาทางการเมือง ผู้คนอยู่กันอย่างยากลำบาก ท่ามกลางสงครากลางเมือง ซ้ำคนบนแผ่นดินเดียวกันยังฉวยโอกาสแสวงหาประโยชน์บนความทุกข์เข็ญ ความไม่รู้ และความไว้วางใจ หรืออาจจะเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในขณะนั้น

Conor Grennan
เ ดิ ม ที ... การมาเป็นอาสาสมัครพี่เลี้ยงบ้านพักพิงเด็ก ในประเทศเนปาล... เขาต้องการเพียงเพื่อให้เป็นที่ประทับใจของสาวๆ .... อยากให้คนรอบข้างชื่นชม แต่...เขาก็ต้องมีพันธะทางใจ ที่ยากจะลบเลือน เป็นคำมั่นคำสัญญา เป็นสายสัมพันธ์ที่ยากจะปลดปล่อย

Little Princes
“รถ โดยสารจากกาฐมาณฑุ ไปยังหมู่บ้านโกดาวารีอบอวลไปด้วยกลิ่นฝุ่น เหงื่อ และเครื่องเทศที่คุ้นจมูกผม ผมกำลังกลับไปยังประเทศที่ไม่มีความเป็นส่วนตัว ไม่เคยคิดถึงเรื่องสุขอนามัย ไม่มีอาหารดีๆ คอผมตีบตันเมื่อรถโดยสารเล็กเข้ามาจอดที่โกดาวารี ผมเดินตามถนนเข้าไปช้าๆ ผ่านทุ่งข้าวสาลี และบ้านอิฐดิบที่เจ้าของผูกควายไว้กับเสาระเบียงบ้าน เบียดตัวผ่านกลุ่มผู้หญิงที่กำลังเดินเรียงแถวกลับจากนาข้าว ตามองต่ำ แบกฟอนหญ้ามัดมหึมา เท่าดาวเคราะห์บนหลัง ผมพยายามจะพิสูจน์อะไร ผมทำสิ่งที่ตั้งใจไว้เมื่อหนึ่งปีก่อนหน้านี้ลุล่วงแล้วผมผ่านบ้านหลังสุด ท้ายทางขวามือ ทางเดินลาดลงและบ้านด็ก Little Princes ก็ปรากฏแก่สายตา”





Little Princes บ้านหลังน้อยของเด็ก 18 คน ชาย 16 หญิง 2 ที่ได้รับการช่วยเหลือให้รอดพ้นจากเงื้อมมือของนักค้ามนุษย์ นำเด็กไปขายเพื่อใช้แรงงาน

ราชุ นุราช พิกาซ สันทอช อานิช นิชาล แต่ละคนมีลักษณะที่ต่างกัน จากการคลุกคลี เฝ้าสังเกต ทำให้เขาเข้าถึงเด็กๆเหล่านี้ได้ไม่ยาก
Seven Missing Children - NGN
“... ผมชินเสียแล้วกับฝูงเด็กที่ Little Princes กับวิธีที่พวกเขาจะกระโดดเกาะคนแปลกหน้าเหมือนนักปล้ำกับจระเข้ ที่บ้าบิ่นไม่กลัวอันตราย ห้อยโหนชนิดไม่ยอมปล่อยและถามคำถามเพื่อใหม่ของเขาราวกับปืนกล แต่เด็กที่นี่เงียบกริบ ผมเห็นพวกเขาเป็นเงาชะโงกหน้าออกมาจากประตูห้องรับแสงสว่างจากท้องฟ้าภายนอก ที่มืดครึ้ม พวกเขาไม่ได้กลัวแต่ความอยากรู้อยากเห็นและความวาดระแวง ทำให้พวกเขาอยู่ตรงกลางพอดี ระหว่างต้องการจะเข้ามาใกล้และต้องการจะหายตัวกลับเข้าไปข้างใน ขณะที่เดินเข้าใกล้ประตู ผมนับจำนวนเด็กได้เจ็ดคน สภาพของแต่ละคนแย่มาก ผิวหนังแห้งแตก เสื้อผ้าสกปกขาดหวิ่น ผมถูกหั่นลวกๆ แทบทุดคนเดินเท้าเปล่า”

อมิตา มาดาน ซามีร์ นาวิน เดอกา คูมาร์ พิษณุ เด็กเจ็ดคนอันเป็นจุดกำเนิดของ NGN – Next Generation Nepal ทั้งหมดอยู่ในกระต๊อบ ย่านแหล่งเสื่อมโทรมของกาฐมาณฑุ เขาเตรียมหาที่พักพิงแห่งใหม่ไว้ให้ก่อนกลับไปอเมริกา

.แต่แล้ววันหนึ่ง... เขาได้รับอีเมล์

“เด็กทั้งเจ็ดคนหายไปแล้ว”

กับ ความรับผิดชอบต่อคำพูด ที่เคยรับปากกับเด็กๆไว้ว่า จะมีคนมารับ คนที่ไว้ใจได้ จะพาไปอยู่ในที่ที่ปลอดภัย เขาต้องหันมาทบทวนสิ่งที่ต้องทำต่อไป เพื่อช่วยเหลือเด็กๆให้เร็วที่สุด

....

อีกครั้งหนึ่งบนดินแดนแห่งขุนเขา เพื่อตามหาเด็กน้อยทั้งเจ็ด

อมิตา ... เด็กหญิงคนแรกที่พบ เดินถือขวดน้ำอยู่ริมทาง

มาดาน ซามีร์ นาวิน เดอกา คือสี่คนต่อมา

นาวิน กับเดอกา อยู่ในสภาพขาดอาหาร ผอมโซใกล้สิ้นใจ

“เดอกาที่อายุน้อยกว่าอาจจะมาพ้นคืนนี้”

คนที่หก คูมาร์ พ้นจากการเป็นทาสรับใช้ในบ้าน
... ...
“ธัวลาคีรี” บ้านใหม่ของเด็กทั้งเจ็ด ที่ได้จากการระดมทุนของเขาก็เสร็จเรียบร้อย
เหลือเพียง พิษณุ เด็กน้อยคนสุดท้าย เขาจะตามหาพบหรือไม่








HUMLA

“แผนที่ ฉบับนี้แทบจะไม่มีอะไรบนนั้นเลย ไม่มีถนนแม้แต่เส้นเดียว เราต้องเดินเท้าเอา มีจุดซึ่งแสดงที่ตั้งของหมู่บ้านอยู่ประปรายใกล้แม่น้ำ แต่ละจุดถูแยกจากจุดใกล้เคียง บนที่ว่างกว้างใหญ่ เส้นชั้นความสูงเรียงกันถี่ยิบแทบจะซ้อนกัน แสดงว่าตลอดทั้งพื้นที่ไม่มีตรงไหนเป็นที่ราบเลย”

และแล้วการตามหาครอบครัวของเด็กๆก็เริ่มต้นขึ้น

ความลำบากของเส้นทาง ความหนาวเย็น ความไม่พร้อมของร่างกาย

พ่ายแพ้ต่อความมุ่งมั่นของเขา

ที่ฮัมลาเขาได้ค้นพบความจริงที่ไม่เป็นความจริง

พบการมีชีวิตของคนที่ตายไปแล้ว

ต้องต่อสู้กับความหวาดกลัวของชาวบ้าน

มันไม่ง่ายเลยที่จะทำให้พวกเขาไว้วางใจ
























วันนี้เขาเป็นที่ประทับใจของคนทั่วโลก

ยังมีเรื่องราวอีกมากมาย จากหนังสือเล่มนี้

Little Princes
สัญญาลูกผู้ชายในเนปาล
ผู้แต่ง : คอร์เนอร์ เกร็นนัน
ผู้แปล : คำเมือง

ขอบคุณ
ภาพทั้งหมดจาก :
http://www.nextgenerationnepal.org





posted by : wansuk

การพูดทำให้รู้ว่าเธอไม่อ่าน การแสดงออกทำให้รู้ว่าเธอไม่ดูหนัง เสียงไม่น่าฟังทำให้รู้ว่าเธอไม่ฟังเพลง

วิ่งเร็วขนาดนี้ติดต่อกัน 26.2 ไมล์ (42.16 กม.)

Sunday, October 23, 2011

ผู้ว่าแถลง กทม วิกฤติ 23ตค54 เรื่องสำคัญ แต่ไม่ได้ออกช่อง 11

König Bhumibol Adulyadej v. Thailand

Rating:★★★★
Category:Movies
Genre: Documentary
สารคดีทำโดยเยอรมันครับ เป็นภาษาเยอรมัน
ประวัติศาสตร์ราชวงศ์จักรี การเดินทางมาไทยของ ร.๘ ร.๙
มีทั้งสองแง่ทั้งคนที่ชอบและไม่ชอบ เช่นมีสัมภาษณ์นาย Paul M. Handley คนเขียน The King Never Smiles ด้วย
มีสัมภาษณ์ท่านผู้หญิง ภรณี มหานนท์ ราชเลขานุการ ท่านวศิษ เดชกุญชร
หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี พระโอรสองค์สุดท้อง ในพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์
หม่อมราชวงศ์ปรียนันทนา รังสิต
ทิพยวดี ปราโมช ณ อยุธยา
ส.ศิวรักษ์

ที่สำคัญจะได้เห็นภาพที่อาจจะไม่เคยเห็น
ใครไม่เคยเห็นภาพยนต์ของ ร.๘ ในโรงเรียน พระพี่นาง พระชนนี บ้าง
อาจเคยเห็นเป็นภาพนิ่ง
ผมเกิดมาเพิ่งได้ยินพระสุรเสียงของ ร.๘
ได้ยินบทสัมภาษณ์ของในหลวงกับ BBC และพระราชินีนาถทรงตรัสภาษาอังกฤษ
ก็จากสารคดีนี้ล่ะ
จะได้ยินแทรกๆมานิดๆ
มีภาพเก่าๆเอามาทำใหม่สมัย ร.๕ ฯลฯ





成功三部曲

http://www.businessweekly.com.tw/webarticle.php?id=23875

โอละพ่อ ศปภ.

Saturday, August 6, 2011

Nellie Melba

http://www.archive.org/details/NellieMelba-01-35

Life In A Jar

Rating:★★★
Category:Other

ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง สิ่งที่ถูกบันทึกในหน้าประวัติศาสตร์ให้คนรุ่นหลังเรียนรู้นั้นมีหลายประเด็น ผ่านหลากหลายมุมมอง จากต่างเชื้อชาติ-ภาษา แต่ท่ามกลางเรื่องน่าหดหู่ ของสงคราม ก็ยังมีเรื่องชูใจของ Irena Sendler สตรีเพศที่สร้างวีรกรรมยิ่งใหญ่เอาไว้

ที่ Warsaw, Poland

เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สองนั้น เยอรมันนาซีได้ตีกรอบพื้นที่และชี้ตัวชาวยิวที่มีอยู่ถึงเกือบสี่แสนคนจากประชากรหนึ่งล้านสามในเมือง ให้ไปอยู่รวมกันในบริเวณที่มีกำแพงอิฐสูง 3 เมตร ยาวถึง 16 กิโลเมตรโอบล้อมไว้ จำกัดอาหาร บังคับให้อยู่อย่างแออัด เด็กเล็กเดินเท้าเปล่ายามอากาศหนาวเหน็บ ไม่นานนักก็เกิดโรคระบาดอย่างไข้รากสาดใหญ่และวัณโรค ผู้คนล้มตายเดือนละประมาณสี่พันคน

Irena Sendler เป็นคนโปลิช เกิดที่กรุงวอร์ซอร์ เมื่อ พ.ศ. 2453 ถูกปลูกฝังโดยพ่อผู้เป็นแพทย์ที่ให้การรักษาดูแลชาวยิวอย่างเอื้อเฟื้อมาตลอด ตอนนั้น Irena Sendler มีอายุเพียง 30 ปี และเป็นพยาบาล เมื่อเกิดโรคระบาดจึงมีโอกาสเข้าไปทำงานในค่ายกักกัน แต่สิ่งที่ Sendler ทำนอกเหนือจากการดูแลผู้ป่วย คือ การลักลอบอพยพเด็กเล็กออกมาจากค่ายกักกัน และหาที่หลบภัยกับครอบครัวชาวโปลิชให้

การอพยพเด็กเหล่านั้น ทำทุกวิธีที่เป็นได้ ทั้งซ่อนใต้เปลในรถพยาบาล มุดออกมาทางท่อระบายน้ำ ใส่ตระกร้ามาในรถเข็น จับซุกใส่กระสอบ

เด็กราว 2,500 คนที่ได้รับการช่วยเหลือนั้น ถูกบันทึกชื่อลงบนกระดาษมวนบุหรี่ บรรจุลงในขวดโหลแก้วสองใบ...

หวังไว้ว่า สักวันเมื่อสงครามจบลง เด็กเหล่านี้จะได้รู้ที่มาของตนเองและกลับสู่ครอบครัวที่ถูกต้อง

Irena Sendler เล่าถึงความทุกข์ยากในภาวะสงคราม ความทุกข์ระทมของใจพ่อแม่ที่แตกสลาย ไม่รู้ว่าลูกที่ปล่อยให้หนีออกไปจะพบเจออะไร บางครอบครัวละล้าละลังแม้พ่อแม่อยากให้ไปแต่ปู่ย่าทำใจไม่ได้

ช่วงเวลาหลบหนีนั้นมีจำกัด ไม่นานนักชาวยิว 300,000 คน ก็ถูกขนย้ายจากค่ายกักกันไปยังค่ายสังหาร ปิดฉากความทรมาณที่พบเจอ เมื่อกลางกรกฎาคม พ.ศ. 2485

Irena Sendler ยังทำงานใต้ดินช่วยเหลือผู้คนต่อไป จวบจนวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ.2486 ก็ถูกจับกุมเพื่อเค้นหาข้อมูลของเครือข่ายที่ทำงานใต้ดิน (Zegota) และโดนทารุณกรรมจนกระดูกขาและเท้าแตก แต่ Irena Sendler ปิดปากสนิท จึงถูกตัดสินด้วยโทษถึงชีวิต

ก่อนหน้าวันประหาร เครือข่ายใต้ดิน (Zegota) หาทางช่วยเอาตัว Irena Sendler ออกมาได้และให้ใช้ชีวิตหลบซ่อน เมื่อการต่อสู้ของขบวนการใต้ดินเข้าขั้นวิกฤติ Irena Sendler จึงเอาขวดโหลบรรจุชื่อเด็กไปฝังดินซ่อนเอาไว้

เมื่อเหตุการณ์ Warsaw Rising จบลงในเดือนมกราคม พ.ศ. 2487 Irena Sendler จึงไปขุดขวดโหลบรรจุชื่อที่มาของเด็กเพื่อหาทางส่งตัวกลับคืนสู่ครอบครัว

เป็นเรื่องน่าสลดใจที่ครอบครัวของเด็กเหล่านั้น ทั้งสูญหาย และแทบไม่เหลือรอดชีวิตคอยรับลูกหลานกลับสู่อ้อมกอด เด็กเหล่านี้จึงแม่คนที่สองเป็นครอบครัวที่อ้าแขนรับเมื่อหลบหนีออกมาได้

ที่ Kansas, USA พ.ศ. 2542

ภายใต้โครงการ National History Day ครูโรงเรียนมัธยม นำเรื่องของ Irena Sendler มาเล่าให้นักเรียนฟังเพื่อจุดประกายให้นักเรียนค้นคว้าเพิ่มเติม แม้จะไม่แน่ใจว่ามีข้อเท็จจริงมากน้อยเพียงไร

นักเรียนหญิงอเมริกันสี่คนประทับใจกับเรื่องราว และค้นคว้าต่อจนรู้ว่ามีมูลความจริง นำเอาโครงเรื่องมาสร้างการแสดง ก็ประสบความสำเร็จ เกิดความประทับใจขึ้นในชุมชนเล็กๆ ที่ไม่มีนักเรียนเชื้อสายยิวเลย

แต่เด็กทั้งสี่ยังไม่หยุดค้นหาข้อมูลด้วยความอยากรู้ว่า ในวาระสุดท้าย Irena Sendler ถูกฝังร่างไว้ที่ใด

ความจริงที่ปรากฏ คือ Irena Sendler ยังมีชีวิตอยู่

จากนั้นมา ทุกการแสดงที่ตั้งชื่อไว้ว่า Life in a Jar จึงมีโหลแก้วติดไปด้วยหนึ่งใบเพื่อรับบริจาคเงินช่วยเหลือดูแล Irena Sendler and other Polish rescuers และเริ่มมีการติดต่อระหว่างกันอย่างเป็นเรื่องเป็นราว

ความตอนหนึ่งของจดหมายตอบจาก Irena Sendler บ่งบอกความรู้สึกซาบซึ้งว่า

"my emotion is being shadowed by the fact that my co-workers have all passed on, and these honors fall to me. I can't find words to thank you, for my own country and the world to know of the bravery of rescuers. Before the day you had written Life in a Jar, the world did not know our story; your performance and work is continuing the effort I started over fifty years ago. You are my dearly beloved ones."

เรื่องราวของ Irena Sendler ก็ได้รับการขยายวงเผยแพร่ให้โลกได้รับรู้ มีการนำมาทำเป็นภาพยนตร์ทางโทรทัศน์ ชื่อ The Courageous Heart of Irena Sendler ในเวลาเดียวกันนักเรียนจาก Kansas ก็ตั้งความหวังไว้ว่าจะได้พบตัวตนของ Irena Sendler สักวัน

ในที่สุด เมื่อพ.ศ. 2545 กลุ่มนักเรียนผู้ริเริ่มโครงการทั้งสี่จึงได้มีโอกาสเดินทางไปพบ Irena Sendler ที่โปแลนด์

ปัจจุบัน เด็กนักเรียนรุ่นนั้นอายุราวยี่สิบกลางๆ และแม้สี่คนผู้ก่อตั้งต่างก็มีครอบครัวแล้ว ก็ยังทำงานเผยแพร่เรื่องของ Irena Sendler ต่อไป

Irena Sendler มีอายุยืนยาว แวดล้อมไปด้วยลูกหลานที่แตกสายออกมาจากการให้กำเนิด ชีวิตใหม่แก่เด็กราว 2,500 คน จนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อ 12 พฤษภาคม 2551

Elzbieta Ficowska (The Children of the Holocaust Association, Warsaw) ผู้ซึ่งถูก Irena Sendler คว้าตัวมาซ่อนในกล่องไม้แล้วขนออกมากับรถบรรทุกอิฐ เมื่ออายุได้เพียงห้าเดือน ยังจดจำถึงความกล้าหาญของ Irena Sendler และสรุปไว้งดงามว่า

สำหรับเด็กที่หลบหนีออกมา Irena Sendler เปรียบเสมือน แม่คนที่สามที่ไม่เคยทอดทิ้งทั้งยามดีและยามยาก...

In memory of Irena Sendler…




by SW19

Saturday, July 23, 2011

SONY NEX-C3

Wong Wing Tsan

Rating:★★★★
Category:Music
Genre: New Age
Artist:Wong Wing Tsan 黃永燦





Wong Wing Tsan ( 黃永燦)
เรียกได้ว่าเป็นผู้นำดนตรีแนว healing music หรือ new age ของญี่ปุ่นอีกคนหนึ่ง
เขาเกิดที่โกเบ เริ่มต้นเป็นนักดนตรีตั้งแต่อายุสิบเก้าโดยเล่นเพลงจำพวกแจ๊ซ โซล และ modern music
จากประสบการณ์และสิ่งที่เขาค้นพบจากการทำสมาธิทำให้เขาคิดตั้ง Satowa Music ขึ้น
ในปี ๑๙๙๑ ซึ่งมีงานออกมาได้สิบกว่าอัลบั้มแล้ว เป็นง่านที่มุ่งมั่นในปรัชญาของตัวเอง
ไม่มุ่งธุรกิจ

ปี ๑๙๙๗ ทำเพลงประกอบภาพยนต์โทรทัศน์ของ NHK Kazokuno Shozo ( A Portrait
of the Family)
ปี ๑๙๙๘ ก็รวมกับวงเดิมที่เคยเล่นกันมาสามสิบปีก่อน WIM และออกอัลบั้มชุด WIM
และ WIM2 ในปี ๑๙๙๙ และ ๒๐๐๑
เขาบินไปบอสเนียเพื่อศึกษาปัญหากับระเบิด และทำดนตรีประกอบบทประพันธ์ของเด็กหญิง
ชาวบอสเนียชื่อเพลง "If There Were No Mines " ซึ่งใช้เป็นเพลงรณรงค์ของ
Landmine Victims Assistance program








Wednesday, July 13, 2011

5 อันดับเมืองที่เป็นมิตรกับจักรยานในเอเซีย

B&W photography ที่หอศิลป์จามจุรี ถ้าชีวิตหยาบกร้านมากก็แวะไปดูครับ

Russian Ark หนังที่ OK Go อาจจะต้องอาย

Rating:★★★
Category:Movies
Genre: Documentary
หนังเรื่องนี้กาลครั้งหนึ่งอาจารย์เคยเอามาฉายให้ดู แต่ผมง่วงสุดขีด ทีแรกเลยไม่ได้สนใจ
แม้กระทั่งจะจำชื่อเรื่อง แต่ดูไปเรื่อยๆมันเป็นหนังที่แปลกดี ก็เลยดูจนจบ (ดูจบแล้วก็ไม่รู้เรื่องอยู่ดี)
ที่แปลกคือมันถ่ายแบบเดินไปเดินมา ช๊อตเดียวตั้งแต่ต้นจนจบเก้าสิบหกนาที
แถมดารานำเป็นผี ได้ยินแต่เสียง มองไม่เห็นตัว
ตอนหลังนึกถึงเลยไปค้นในเน็ทอยู่ตั้งนานกว่าจะเจอ

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>



หนังเรื่องนี้มีชื่อว่า Russian Ark (Русский ковчег) ครับ สร้างออกมาเมื่อปี 2002 เป็นหนังแนวสารคดี กำกับโดย อเล็กซานเดอร์ ซากูรอฟ ผู้กำกับชาวรัสเซีย ที่มีผลงานทั้งการทำหนังสารคดีและหนังเรื่อง แต่ส่วนใหญ่แล้วก็ดูไม่ค่อยรู้เรื่องเหมือนกันทั้งนั้น หนังที่ผมเก็บไว้ ก็มีของซากูรอฟนี่แหละครับที่มากที่สุด อาจจะเป็นเพราะว่าคนที่สั่งเข้ามาขาย ชื่นชอบเขามากเป็นพิเศษก็ได้ หนังของเขาก็เลยหาง่ายในบ้านเรา

จุดเด่นของหนังเรื่องนี้ที่ไม่เหมือนหนังเรื่องใดในโลกก็คือ ตลอดความยาว 90 นาทีของหนัง เป็นการถ่ายทำในแบบคัตเดียว ไม่มีการตัดต่อแต่อย่างใด เรียกได้ว่าเวลาตั้งแต่เริ่มเดินกล้องจนจบ เท่ากับเวลาที่ผู้ชมใช้ในการชมพอดี ทำให้หนังเรื่องนี้สร้างสถิติในเรื่องช็อตที่ยาวที่สุดในประวัติศาสตร์หนังโลก

ซากูรอฟ (คนขวา ขณะกำลังกำกับหนังเรื่องนี้)

โปรเจ๊คนี้ ดูเหมือนว่าจะง่าย ใช้เวลาถ่ายแค่ 90 นาที ถ่ายกันรวดเดียว เสร็จแล้วเสร็จเลย แต่ไปๆมาๆ งานนี้ต้องใช้เวลาในการวางแผนและเตรียมงานมากถึง 4 ปี เหตุผลก็เพราะ ต้องใช้ผู้แสดงมากถึงราว 2,000 คน (แบ่งเป็นนักแสดงหลักมากกว่า 800 คน กับตัวประกอบอีกมากกว่า 1,000 คน )

งานที่เป็นงานช้างอยู่แล้ว ก็เลยกลายเป็นงานช้างขึ้นอึด ในเมื่อนักแสดงทั้ง 2,000 คนทุกแผนกและทุกฝ่าย ต้องเตรียมพร้อมในเวลาเดียวกัน

เรื่องราวส่วนใหญ่ในหนังเป็นเรื่องราวในประวัติศาสตร์ นักแสดงจึงต้องแปลงร่างแปลงโฉมเป็นเจ้าหญิงเจ้าชาย จากยุคโบราณ ไหนจะเสื้อผ้าหน้าผม ที่ต้องถูกยุคถูกสมัย ก็เลยยิ่งวุ่นวายกันไปใหญ่

และการที่สถานที่ถ่ายทำเป็นที่พระราชวังฤดูหนาว ในนครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก ที่เปิดโอกาสให้ทีมงานเข้าถ่ายทำในระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมง ก็ยิ่งเพิ่มแรงกดดันให้กับทีมงานมากขึ้นไปอีก ทั้งในช่วงของการเตรียมการ และและการถ่ายทำ ทางพระราชวังให้เวลาสำหรับการเข้ามาเตรียมงาน เซ็ตฉากต่างๆแค่ 36 ชั่วโมงเท่านั้น ถ้าเป็นการไปถ่ายที่อื่น แค่เซ็ตฉากอาจต้องใช้เวลาเป็นอาทิตย์

ในการถ่ายทำที่ใช้กล้องวีดีโอ ซึ่งต้องใช้กำลังไฟจากแบตเตอร์รี่ แต่แบตเตอร์รี่ก็มีไฟในจำนวนที่จำกัด ไม่สามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ขณะถ่ายทำได้ การผิดพลาดใดๆ ที่ทำให้ต้องกลับมาถ่ายทำกันใหม่ตั้งแต่จุดเริ่มต้นหมายความว่ากำลังไฟในแบตเตอร์รี่ ก็จะลดน้อยถอยลงไป และสุดท้ายแล้ว กำลังไฟก็อาจจะไม่พอสำหรับหนังที่ยาว 90 นาที

นอกจากนั้นก็ยังมีเรื่องของแสงอาทิตย์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพราะถ้ากลับมาถ่ายซ้ำกันหลายรอบ สุดท้ายแล้วถึงเวลาเย็น แดดหมด งานนี้ก็เหลวกันอีก

ความล้มเหลวใดๆ หมายถึงเม็ดเงินมหาศาลที่จะหลุดลอยไป เพราะค่าตัวนักแสดง 2,000 คน ค่าอะไรต่อมิอะไร ก็จะต้องจ่าย โดยไม่ได้อะไรกลับมาเลย เพราะต้องไม่ลืมว่า หนังเรื่องนี้จะต้องถ่ายกันแบบรวดเดียวจบ ไม่มีการตัดต่อใดๆ ไม่มีการสต็อกภาพ จึงมีการตกลงกันในทีมงานว่าเพื่อให้ผลงานออกมาเนี๊ยบ หากความผิดพลาดใดๆเกิดขึ้นในช่วง 20 นาทีแรกของการถ่ายทำ สามารถกลับมาถ่ายกันใหม่ แต่หากหลังจากนั้น ก็ให้พยายามถ่ายกันต่อไปจนจบ

สรุปแล้ว หนังเรื่องนี้ถ่ายกัน 4 รอบ รอบแรกเริ่มเมื่อหลังเที่ยง แต่ 3 รอบแรกเกิดความผิดพลาดทางเทคนิคต่างๆในช่วง 20 นาทีแรก แต่ในครั้งที่ 4 ที่เริ่มในเวลาหลังบ่าย 2 โมง ที่พวกเขาจะผิดพลาดอีกไม่ได้แล้ว เพราะแดดก็ใกล้จะหมด แบตเตอร์รี่ก็จะไม่อาจจะพอสำหรับ 90 นาทีหากว่าจะต้องถ่ายกันรอบที่ 5 แต่แล้ว พวกเขาก็ทำสำเร็จในครั้งนี้ เล่นเอาซากูรอฟ ถึงกับร้องไห้ หลังจากสั่งคัต เสร็จสิ้นการถ่ายทำ

งานนี้ต้องใช้ผู้ช่วยผู้กำกับมากถึง 24 คน เพื่อดูแลตระเตรียมความเรียบร้อยต่างๆ รอเวลาที่กล้องจะเดินทางไปถึง ไม่รวมช่างออกแบบเครื่องแต่งกาย ช่างแต่งหน้าแต่งผมอีกเกือบร้อย นักแสดงทุกคน จะต้องแต่งตัวแต่งผมแต่งหน้าในเวลาใกล้เคียงกันเพื่อรอเข้าฉากในเวลาใกล้เคียงกัน

หนังเรื่องนี้พยายามที่จะบอกเล่าถึงช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ 300 ปีของรัสเซีย (ของเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก ) เริ่มตั้งแต่สมัยพระเจ้าปีเตอร์ มหาราช ผู้สร้างเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก ไล่เรียงมาจนถึงรัสเซียในยุคพระเจ้าซาร์องค์สุดท้าย สมัยคอมมิวนิสต์ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ผ่านงานศิลปะที่สะสมไว้ที่พระราชวังฤดูหนาว ที่ปัจจุบันกลายเป็นอาคารหลักของพิพิธภัณฑ์ศิลปะ เฮอร์มิเทจ ( รัสเซียเรียก แอร์มิตาจ ) พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง

การบอกเล่าเรื่องต่างๆในหนัง ผ่านมาทางการพูดคุยกันระหว่างคนสองคน โดยคนแรกเป็นคนรัสเซียจากยุคปัจจุบัน แต่ตลอดทั้งเรื่องเราจะไม่เห็นตัวตนของเขา เนื่องจากเขาเป็นวิญญาณที่ล่องลอยมาที่พระราชวังฤดูหนาวหลังจากประสบอุบัติเหตุจนถึงแก่ความตาย ตลอดทั้งเรื่องเราจะได้ยินแต่เสียงของเขา และผู้ที่ให้เสียงวิญญาณนี้ก็คือซากูรอฟ ยอดผู้กำกับ

ที่ประตูหลังของพระราชวัง เขาพบกับกลุ่มคนหนุ่มสาวจำนวนมากจากยุคเมื่อร้อยปีก่อน ที่จะเข้าไปร่วมในงานแกรนด์บอลรูมที่ทางพระราชวังจัดขึ้น เขาจึงเดินตามเข้าไป และก็มาพบกับ มาร์กีส์ เดอ กุสแตง ซึ่งเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ที่เคยมีตัวตนอยู่จริง เขาเคยเดินทางมารัสเซียในปี 1839 และก็บันทึกเรื่องราวของรัสเซียเอาไว้มากมายในช่วงรัชสมัยพระเจ้าซาร์ นิโคลัสที่ 1

ในเรื่อง มาร์กีส์ เดอ กุสแตง ก็เหมือนว่าจะพลัดหลงเข้ามาที่พระราชวังเช่นกัน จากนั้นทั้งสองก็ชวนกันเดินลัดเลาะไปตามห้องหับต่างๆของพระราชวัง (รวมแล้ว 33 ห้อง ) พร้อมกับพูดคุยถกเถียง โต้แย้งวิพากษ์วิจารณ์รัสเซียผ่านงานศิลปะต่างๆที่เก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ โดยข้อโต้แย้งหลักก็คือ รัสเซียเป็นยุโรปหรือไม่ แต่สุดท้ายของการโต้แย้ง มาร์กีส์ เดอ กุสแตง ก็ยอมรับว่า รัสเซียคือยุโรป และปักใจที่จะขอสิงสถิตย์อยู่ที่พระราชวังแห่งนี้ต่อไป

ระหว่างการทัวร์ประหลาด พวกเขาได้พบเห็นบุคคลในประวัติศาสตร์มากมาย ทั้งพระเจ้าซาร์ พระราชินี นักเขียนชื่อดัง ไม่ว่าจะเป็นปีเตอร์มหาราช หรือ พระเจ้าซาร์องค์สุดท้ายของรัสเซีย

ฉากใหญ่ฉากหนึ่งที่ผมชอบก็คือการที่พระเจ้าชาห์ แห่งเปอร์เซียส่งคณะทูตมาขอโทษพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 1 ต่อการที่นักการทูตรัสเซียถูกสังหาร ดูได้ได้ความรู้ในเรื่องประวัติศาสตร์มากมาย

ในตอนท้ายของหนัง คนนำเรื่องทั้งสอง ก็ได้เข้าร่วมในงานแกรนด์บอลรูมครั้งสุดท้ายของพระราชวังแห่งนี้ ที่เกิดขึ้นในปี 1913 หรือไม่นาน ก่อนที่จะเกิดการปฏิวัติรัสเซียเมื่อปี 1917

ทิลแมน บัตเนอร์ ตากล้อง

ตากล้อง ที่เป็นชาวเยอรมันบอกว่า ตอนที่ถ่ายไปถ่ายมา จนใกล้จะจบอยู่รอมร่อแล้วเขารู้สึกตัวว่าไม่ไหวจริงๆ เพราะต้องแบกกล้องและอุปกรณ์เสริมอุปกรณ์พ่วงหนักราว 35 กิโลกรัมมานานกว่าชั่วโมงแล้ว ก็เลยกะจะถอดใจ วางกล้องและโบกมือบ๊ายบายอยู่แล้ว ซึ่งหากเขาทำจริง นั่นก็หมายความว่า งานนี้ต้องพังแบบหมอไม่รับเย็บ

แต่เพราะฉากแกรนด์บอลรูมนี่เอง ที่ทำให้เขามีแรงฮึด จนสามารถแบกกล้องต่อไปได้อีก 18 นาที จนกระทั่งผู้กำกับสั่งคัต เสร็จสิ้นการถ่ายหนัง รวมแล้วเขาต้องเดินภายในพระราชวัง รวมระยะทางสำหรับการถ่ายทำราวกิโลเมตรครึ่ง

ฉากนี่ยิ่งใหญ่อลังการณ์มาก มีนักเต้นรำเข้าฉากมากถึง 300 คู่ ทุกคนอยู่ในชุดที่สวยงาม หลังเสร็จงานทุกคนต่างก็เดินออกจากห้องบอลรูมกันอย่างคราคร่ำ แค่คิดถึงค่าใช้จ่ายในเรื่องเสื้อผ้าหน้าผมอย่างเดียว ผมก็ว่าคุ้มแสนคุ้มสำหรับคนดูครับ

นำเอาบางส่วนของฉากนี้มาให้ดูกันครับ ก็ฉากที่ทำให้อะเดรนาลีนของตากล้องหลั่งออกมา ยามเมื่อเข้ามาในห้อง

ซาคูรอฟ บอกว่าสิ่งที่เขาต้องการจะบอกในหนังของเขาก็คือความรักของรัสเซียที่มีต่อยุโรป ผ่านเรื่องราวของเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์กและพิพิธภัณฑ์เฮอมิเทจ ที่เก็บสะสมงานศิลปะชั้นดีของยุโรปไว้มากมาย แต่น่าเสียดายที่ยุโรป กลับแสดงท่าทีที่เย็นชาต่อรัสเซีย

รัสเซียพยายามมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าปีเตอร์ มหาราช เพื่อให้ยุโรปรับว่ารัสเซียก็เป็นยุโรป แต่หลายร้อยปีให้หลัง ซากูรอฟ ก็ยังคงต้องทำหนังที่พยายามสื่อออกมาเช่นเดียวกับพระเจ้าปีเตอร์ มหาราช

ส่วนนี่เป็นหนังตัวอย่างครับ



by รุสกี้

Saturday, July 9, 2011

ไทยเป็นประเทศที่ไม่ชอบบันทึกและไม่รู้จักจำ

ข้าวหมกไก่

Nobuyuki Tsujii ถึงแม้จะมองไม่เห็น

Rating:★★★
Category:Music
Genre: Classical
Artist:Nobuyuki Tsujii

ภาพยนต์เรื่อง 神様のカル (Kamisama no Karute, แปลว่าอะไรดี ?? น่าจะ God’s medical record)
ที่ดัดแปลงมาจากนวนิยายขายดีของหมอ 夏川草介(Natsukawa Sousuke)ซึ่งเป็นหมอจริงๆ
หนังจะออกฉายในญี่ปุ่ญในวันที่ 27 สิงหานี้ ในวันที่ 6 กค.
เป็นหนังเกี่ยวกับผู้ป่วยมะเร็ง ลงหนังสือขายดีหลายแสนเล่มได้ก็คิดว่าคงน่าดูครับ

มีงานประพันธ์เพลงประกอบหนังเรื่องนี้ชื่อเดียวกันออกมาให้ได้ฟังกันก่อนจากนักเปียโน辻井伸行(Nobuyuki Tsujii)
โดยอัลบั้มนี้ใช้ชื่อเดียวกับชื่อหนัง

Nobuyuki Tsujii ซึ่งอายุแค่ 22 เริ่มส่องแสงในญี่ปุ่น เมื่อปี 2009 ชนะรางวัลเหรียญทองการแข่งขันเปียโน
อินเตอร์เนชั่นแนลVan Cliburn จากนั้นก็เริ่มทัวร์ในญี่ปุ่น การตีความบทประพันธ์ที่ละเอียดอ่อนของเขาทำให้ผู้ชมประทับใจ
บวกกับการที่เขาเป็นผู้พิการทางการมองเห็นยิ่งทำให้การถ่ายทอดเรื่องราวเป็นไปอย่างลึกซึ้งตรึงใจ

นอกจากนั้นเขายังได้รับเชิญให้ไปร่วมงาน Keyboard Virtuosos ที่ Carnegie Hall นิวยอร์คในเดือน พย. นี้อีก
สำหรับงานดนตรีในอัลบั้มนี้จัดมอบรายได้ให้ผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว それでも、生きてゆく(Even so, still strive to live)
ทั้งอัลบั้มประกอบด้วย 15 บทเพลง เพื่อที่จะทำงานประกอบภาพยนต์ชุดนี้ Nobuyuki Tsujii ใช้วิธีทำความเข้าใจบทภาพยนต์โดยการอ่านจากอักษรเบรลล์
เยี่ยมชมและอัดเสียงจากสถานที่ถ่ายทำภาพยนต์จริงๆที่มัตสืนากาโน นอกจากงานบันทึกเสียงแล้วก็จะมีจัดคอนเสิร์ตในช่วงเดือน สค. นี้ด้วย