Saturday, July 23, 2011

SONY NEX-C3

Wong Wing Tsan

Rating:★★★★
Category:Music
Genre: New Age
Artist:Wong Wing Tsan 黃永燦





Wong Wing Tsan ( 黃永燦)
เรียกได้ว่าเป็นผู้นำดนตรีแนว healing music หรือ new age ของญี่ปุ่นอีกคนหนึ่ง
เขาเกิดที่โกเบ เริ่มต้นเป็นนักดนตรีตั้งแต่อายุสิบเก้าโดยเล่นเพลงจำพวกแจ๊ซ โซล และ modern music
จากประสบการณ์และสิ่งที่เขาค้นพบจากการทำสมาธิทำให้เขาคิดตั้ง Satowa Music ขึ้น
ในปี ๑๙๙๑ ซึ่งมีงานออกมาได้สิบกว่าอัลบั้มแล้ว เป็นง่านที่มุ่งมั่นในปรัชญาของตัวเอง
ไม่มุ่งธุรกิจ

ปี ๑๙๙๗ ทำเพลงประกอบภาพยนต์โทรทัศน์ของ NHK Kazokuno Shozo ( A Portrait
of the Family)
ปี ๑๙๙๘ ก็รวมกับวงเดิมที่เคยเล่นกันมาสามสิบปีก่อน WIM และออกอัลบั้มชุด WIM
และ WIM2 ในปี ๑๙๙๙ และ ๒๐๐๑
เขาบินไปบอสเนียเพื่อศึกษาปัญหากับระเบิด และทำดนตรีประกอบบทประพันธ์ของเด็กหญิง
ชาวบอสเนียชื่อเพลง "If There Were No Mines " ซึ่งใช้เป็นเพลงรณรงค์ของ
Landmine Victims Assistance program








Wednesday, July 13, 2011

5 อันดับเมืองที่เป็นมิตรกับจักรยานในเอเซีย

B&W photography ที่หอศิลป์จามจุรี ถ้าชีวิตหยาบกร้านมากก็แวะไปดูครับ

Russian Ark หนังที่ OK Go อาจจะต้องอาย

Rating:★★★
Category:Movies
Genre: Documentary
หนังเรื่องนี้กาลครั้งหนึ่งอาจารย์เคยเอามาฉายให้ดู แต่ผมง่วงสุดขีด ทีแรกเลยไม่ได้สนใจ
แม้กระทั่งจะจำชื่อเรื่อง แต่ดูไปเรื่อยๆมันเป็นหนังที่แปลกดี ก็เลยดูจนจบ (ดูจบแล้วก็ไม่รู้เรื่องอยู่ดี)
ที่แปลกคือมันถ่ายแบบเดินไปเดินมา ช๊อตเดียวตั้งแต่ต้นจนจบเก้าสิบหกนาที
แถมดารานำเป็นผี ได้ยินแต่เสียง มองไม่เห็นตัว
ตอนหลังนึกถึงเลยไปค้นในเน็ทอยู่ตั้งนานกว่าจะเจอ

>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>>



หนังเรื่องนี้มีชื่อว่า Russian Ark (Русский ковчег) ครับ สร้างออกมาเมื่อปี 2002 เป็นหนังแนวสารคดี กำกับโดย อเล็กซานเดอร์ ซากูรอฟ ผู้กำกับชาวรัสเซีย ที่มีผลงานทั้งการทำหนังสารคดีและหนังเรื่อง แต่ส่วนใหญ่แล้วก็ดูไม่ค่อยรู้เรื่องเหมือนกันทั้งนั้น หนังที่ผมเก็บไว้ ก็มีของซากูรอฟนี่แหละครับที่มากที่สุด อาจจะเป็นเพราะว่าคนที่สั่งเข้ามาขาย ชื่นชอบเขามากเป็นพิเศษก็ได้ หนังของเขาก็เลยหาง่ายในบ้านเรา

จุดเด่นของหนังเรื่องนี้ที่ไม่เหมือนหนังเรื่องใดในโลกก็คือ ตลอดความยาว 90 นาทีของหนัง เป็นการถ่ายทำในแบบคัตเดียว ไม่มีการตัดต่อแต่อย่างใด เรียกได้ว่าเวลาตั้งแต่เริ่มเดินกล้องจนจบ เท่ากับเวลาที่ผู้ชมใช้ในการชมพอดี ทำให้หนังเรื่องนี้สร้างสถิติในเรื่องช็อตที่ยาวที่สุดในประวัติศาสตร์หนังโลก

ซากูรอฟ (คนขวา ขณะกำลังกำกับหนังเรื่องนี้)

โปรเจ๊คนี้ ดูเหมือนว่าจะง่าย ใช้เวลาถ่ายแค่ 90 นาที ถ่ายกันรวดเดียว เสร็จแล้วเสร็จเลย แต่ไปๆมาๆ งานนี้ต้องใช้เวลาในการวางแผนและเตรียมงานมากถึง 4 ปี เหตุผลก็เพราะ ต้องใช้ผู้แสดงมากถึงราว 2,000 คน (แบ่งเป็นนักแสดงหลักมากกว่า 800 คน กับตัวประกอบอีกมากกว่า 1,000 คน )

งานที่เป็นงานช้างอยู่แล้ว ก็เลยกลายเป็นงานช้างขึ้นอึด ในเมื่อนักแสดงทั้ง 2,000 คนทุกแผนกและทุกฝ่าย ต้องเตรียมพร้อมในเวลาเดียวกัน

เรื่องราวส่วนใหญ่ในหนังเป็นเรื่องราวในประวัติศาสตร์ นักแสดงจึงต้องแปลงร่างแปลงโฉมเป็นเจ้าหญิงเจ้าชาย จากยุคโบราณ ไหนจะเสื้อผ้าหน้าผม ที่ต้องถูกยุคถูกสมัย ก็เลยยิ่งวุ่นวายกันไปใหญ่

และการที่สถานที่ถ่ายทำเป็นที่พระราชวังฤดูหนาว ในนครเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก ที่เปิดโอกาสให้ทีมงานเข้าถ่ายทำในระยะเวลาไม่กี่ชั่วโมง ก็ยิ่งเพิ่มแรงกดดันให้กับทีมงานมากขึ้นไปอีก ทั้งในช่วงของการเตรียมการ และและการถ่ายทำ ทางพระราชวังให้เวลาสำหรับการเข้ามาเตรียมงาน เซ็ตฉากต่างๆแค่ 36 ชั่วโมงเท่านั้น ถ้าเป็นการไปถ่ายที่อื่น แค่เซ็ตฉากอาจต้องใช้เวลาเป็นอาทิตย์

ในการถ่ายทำที่ใช้กล้องวีดีโอ ซึ่งต้องใช้กำลังไฟจากแบตเตอร์รี่ แต่แบตเตอร์รี่ก็มีไฟในจำนวนที่จำกัด ไม่สามารถเปลี่ยนแบตเตอรี่ขณะถ่ายทำได้ การผิดพลาดใดๆ ที่ทำให้ต้องกลับมาถ่ายทำกันใหม่ตั้งแต่จุดเริ่มต้นหมายความว่ากำลังไฟในแบตเตอร์รี่ ก็จะลดน้อยถอยลงไป และสุดท้ายแล้ว กำลังไฟก็อาจจะไม่พอสำหรับหนังที่ยาว 90 นาที

นอกจากนั้นก็ยังมีเรื่องของแสงอาทิตย์เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เพราะถ้ากลับมาถ่ายซ้ำกันหลายรอบ สุดท้ายแล้วถึงเวลาเย็น แดดหมด งานนี้ก็เหลวกันอีก

ความล้มเหลวใดๆ หมายถึงเม็ดเงินมหาศาลที่จะหลุดลอยไป เพราะค่าตัวนักแสดง 2,000 คน ค่าอะไรต่อมิอะไร ก็จะต้องจ่าย โดยไม่ได้อะไรกลับมาเลย เพราะต้องไม่ลืมว่า หนังเรื่องนี้จะต้องถ่ายกันแบบรวดเดียวจบ ไม่มีการตัดต่อใดๆ ไม่มีการสต็อกภาพ จึงมีการตกลงกันในทีมงานว่าเพื่อให้ผลงานออกมาเนี๊ยบ หากความผิดพลาดใดๆเกิดขึ้นในช่วง 20 นาทีแรกของการถ่ายทำ สามารถกลับมาถ่ายกันใหม่ แต่หากหลังจากนั้น ก็ให้พยายามถ่ายกันต่อไปจนจบ

สรุปแล้ว หนังเรื่องนี้ถ่ายกัน 4 รอบ รอบแรกเริ่มเมื่อหลังเที่ยง แต่ 3 รอบแรกเกิดความผิดพลาดทางเทคนิคต่างๆในช่วง 20 นาทีแรก แต่ในครั้งที่ 4 ที่เริ่มในเวลาหลังบ่าย 2 โมง ที่พวกเขาจะผิดพลาดอีกไม่ได้แล้ว เพราะแดดก็ใกล้จะหมด แบตเตอร์รี่ก็จะไม่อาจจะพอสำหรับ 90 นาทีหากว่าจะต้องถ่ายกันรอบที่ 5 แต่แล้ว พวกเขาก็ทำสำเร็จในครั้งนี้ เล่นเอาซากูรอฟ ถึงกับร้องไห้ หลังจากสั่งคัต เสร็จสิ้นการถ่ายทำ

งานนี้ต้องใช้ผู้ช่วยผู้กำกับมากถึง 24 คน เพื่อดูแลตระเตรียมความเรียบร้อยต่างๆ รอเวลาที่กล้องจะเดินทางไปถึง ไม่รวมช่างออกแบบเครื่องแต่งกาย ช่างแต่งหน้าแต่งผมอีกเกือบร้อย นักแสดงทุกคน จะต้องแต่งตัวแต่งผมแต่งหน้าในเวลาใกล้เคียงกันเพื่อรอเข้าฉากในเวลาใกล้เคียงกัน

หนังเรื่องนี้พยายามที่จะบอกเล่าถึงช่วงหนึ่งของประวัติศาสตร์ 300 ปีของรัสเซีย (ของเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก ) เริ่มตั้งแต่สมัยพระเจ้าปีเตอร์ มหาราช ผู้สร้างเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์ก ไล่เรียงมาจนถึงรัสเซียในยุคพระเจ้าซาร์องค์สุดท้าย สมัยคอมมิวนิสต์ สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ผ่านงานศิลปะที่สะสมไว้ที่พระราชวังฤดูหนาว ที่ปัจจุบันกลายเป็นอาคารหลักของพิพิธภัณฑ์ศิลปะ เฮอร์มิเทจ ( รัสเซียเรียก แอร์มิตาจ ) พิพิธภัณฑ์ศิลปะที่ใหญ่ที่สุดในโลกแห่งหนึ่ง

การบอกเล่าเรื่องต่างๆในหนัง ผ่านมาทางการพูดคุยกันระหว่างคนสองคน โดยคนแรกเป็นคนรัสเซียจากยุคปัจจุบัน แต่ตลอดทั้งเรื่องเราจะไม่เห็นตัวตนของเขา เนื่องจากเขาเป็นวิญญาณที่ล่องลอยมาที่พระราชวังฤดูหนาวหลังจากประสบอุบัติเหตุจนถึงแก่ความตาย ตลอดทั้งเรื่องเราจะได้ยินแต่เสียงของเขา และผู้ที่ให้เสียงวิญญาณนี้ก็คือซากูรอฟ ยอดผู้กำกับ

ที่ประตูหลังของพระราชวัง เขาพบกับกลุ่มคนหนุ่มสาวจำนวนมากจากยุคเมื่อร้อยปีก่อน ที่จะเข้าไปร่วมในงานแกรนด์บอลรูมที่ทางพระราชวังจัดขึ้น เขาจึงเดินตามเข้าไป และก็มาพบกับ มาร์กีส์ เดอ กุสแตง ซึ่งเป็นบุคคลในประวัติศาสตร์ที่เคยมีตัวตนอยู่จริง เขาเคยเดินทางมารัสเซียในปี 1839 และก็บันทึกเรื่องราวของรัสเซียเอาไว้มากมายในช่วงรัชสมัยพระเจ้าซาร์ นิโคลัสที่ 1

ในเรื่อง มาร์กีส์ เดอ กุสแตง ก็เหมือนว่าจะพลัดหลงเข้ามาที่พระราชวังเช่นกัน จากนั้นทั้งสองก็ชวนกันเดินลัดเลาะไปตามห้องหับต่างๆของพระราชวัง (รวมแล้ว 33 ห้อง ) พร้อมกับพูดคุยถกเถียง โต้แย้งวิพากษ์วิจารณ์รัสเซียผ่านงานศิลปะต่างๆที่เก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ โดยข้อโต้แย้งหลักก็คือ รัสเซียเป็นยุโรปหรือไม่ แต่สุดท้ายของการโต้แย้ง มาร์กีส์ เดอ กุสแตง ก็ยอมรับว่า รัสเซียคือยุโรป และปักใจที่จะขอสิงสถิตย์อยู่ที่พระราชวังแห่งนี้ต่อไป

ระหว่างการทัวร์ประหลาด พวกเขาได้พบเห็นบุคคลในประวัติศาสตร์มากมาย ทั้งพระเจ้าซาร์ พระราชินี นักเขียนชื่อดัง ไม่ว่าจะเป็นปีเตอร์มหาราช หรือ พระเจ้าซาร์องค์สุดท้ายของรัสเซีย

ฉากใหญ่ฉากหนึ่งที่ผมชอบก็คือการที่พระเจ้าชาห์ แห่งเปอร์เซียส่งคณะทูตมาขอโทษพระเจ้าซาร์นิโคลัสที่ 1 ต่อการที่นักการทูตรัสเซียถูกสังหาร ดูได้ได้ความรู้ในเรื่องประวัติศาสตร์มากมาย

ในตอนท้ายของหนัง คนนำเรื่องทั้งสอง ก็ได้เข้าร่วมในงานแกรนด์บอลรูมครั้งสุดท้ายของพระราชวังแห่งนี้ ที่เกิดขึ้นในปี 1913 หรือไม่นาน ก่อนที่จะเกิดการปฏิวัติรัสเซียเมื่อปี 1917

ทิลแมน บัตเนอร์ ตากล้อง

ตากล้อง ที่เป็นชาวเยอรมันบอกว่า ตอนที่ถ่ายไปถ่ายมา จนใกล้จะจบอยู่รอมร่อแล้วเขารู้สึกตัวว่าไม่ไหวจริงๆ เพราะต้องแบกกล้องและอุปกรณ์เสริมอุปกรณ์พ่วงหนักราว 35 กิโลกรัมมานานกว่าชั่วโมงแล้ว ก็เลยกะจะถอดใจ วางกล้องและโบกมือบ๊ายบายอยู่แล้ว ซึ่งหากเขาทำจริง นั่นก็หมายความว่า งานนี้ต้องพังแบบหมอไม่รับเย็บ

แต่เพราะฉากแกรนด์บอลรูมนี่เอง ที่ทำให้เขามีแรงฮึด จนสามารถแบกกล้องต่อไปได้อีก 18 นาที จนกระทั่งผู้กำกับสั่งคัต เสร็จสิ้นการถ่ายหนัง รวมแล้วเขาต้องเดินภายในพระราชวัง รวมระยะทางสำหรับการถ่ายทำราวกิโลเมตรครึ่ง

ฉากนี่ยิ่งใหญ่อลังการณ์มาก มีนักเต้นรำเข้าฉากมากถึง 300 คู่ ทุกคนอยู่ในชุดที่สวยงาม หลังเสร็จงานทุกคนต่างก็เดินออกจากห้องบอลรูมกันอย่างคราคร่ำ แค่คิดถึงค่าใช้จ่ายในเรื่องเสื้อผ้าหน้าผมอย่างเดียว ผมก็ว่าคุ้มแสนคุ้มสำหรับคนดูครับ

นำเอาบางส่วนของฉากนี้มาให้ดูกันครับ ก็ฉากที่ทำให้อะเดรนาลีนของตากล้องหลั่งออกมา ยามเมื่อเข้ามาในห้อง

ซาคูรอฟ บอกว่าสิ่งที่เขาต้องการจะบอกในหนังของเขาก็คือความรักของรัสเซียที่มีต่อยุโรป ผ่านเรื่องราวของเซ็นต์ปีเตอร์สเบิร์กและพิพิธภัณฑ์เฮอมิเทจ ที่เก็บสะสมงานศิลปะชั้นดีของยุโรปไว้มากมาย แต่น่าเสียดายที่ยุโรป กลับแสดงท่าทีที่เย็นชาต่อรัสเซีย

รัสเซียพยายามมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าปีเตอร์ มหาราช เพื่อให้ยุโรปรับว่ารัสเซียก็เป็นยุโรป แต่หลายร้อยปีให้หลัง ซากูรอฟ ก็ยังคงต้องทำหนังที่พยายามสื่อออกมาเช่นเดียวกับพระเจ้าปีเตอร์ มหาราช

ส่วนนี่เป็นหนังตัวอย่างครับ



by รุสกี้

Saturday, July 9, 2011

ไทยเป็นประเทศที่ไม่ชอบบันทึกและไม่รู้จักจำ

ข้าวหมกไก่

Nobuyuki Tsujii ถึงแม้จะมองไม่เห็น

Rating:★★★
Category:Music
Genre: Classical
Artist:Nobuyuki Tsujii

ภาพยนต์เรื่อง 神様のカル (Kamisama no Karute, แปลว่าอะไรดี ?? น่าจะ God’s medical record)
ที่ดัดแปลงมาจากนวนิยายขายดีของหมอ 夏川草介(Natsukawa Sousuke)ซึ่งเป็นหมอจริงๆ
หนังจะออกฉายในญี่ปุ่ญในวันที่ 27 สิงหานี้ ในวันที่ 6 กค.
เป็นหนังเกี่ยวกับผู้ป่วยมะเร็ง ลงหนังสือขายดีหลายแสนเล่มได้ก็คิดว่าคงน่าดูครับ

มีงานประพันธ์เพลงประกอบหนังเรื่องนี้ชื่อเดียวกันออกมาให้ได้ฟังกันก่อนจากนักเปียโน辻井伸行(Nobuyuki Tsujii)
โดยอัลบั้มนี้ใช้ชื่อเดียวกับชื่อหนัง

Nobuyuki Tsujii ซึ่งอายุแค่ 22 เริ่มส่องแสงในญี่ปุ่น เมื่อปี 2009 ชนะรางวัลเหรียญทองการแข่งขันเปียโน
อินเตอร์เนชั่นแนลVan Cliburn จากนั้นก็เริ่มทัวร์ในญี่ปุ่น การตีความบทประพันธ์ที่ละเอียดอ่อนของเขาทำให้ผู้ชมประทับใจ
บวกกับการที่เขาเป็นผู้พิการทางการมองเห็นยิ่งทำให้การถ่ายทอดเรื่องราวเป็นไปอย่างลึกซึ้งตรึงใจ

นอกจากนั้นเขายังได้รับเชิญให้ไปร่วมงาน Keyboard Virtuosos ที่ Carnegie Hall นิวยอร์คในเดือน พย. นี้อีก
สำหรับงานดนตรีในอัลบั้มนี้จัดมอบรายได้ให้ผู้ประสบภัยแผ่นดินไหว それでも、生きてゆく(Even so, still strive to live)
ทั้งอัลบั้มประกอบด้วย 15 บทเพลง เพื่อที่จะทำงานประกอบภาพยนต์ชุดนี้ Nobuyuki Tsujii ใช้วิธีทำความเข้าใจบทภาพยนต์โดยการอ่านจากอักษรเบรลล์
เยี่ยมชมและอัดเสียงจากสถานที่ถ่ายทำภาพยนต์จริงๆที่มัตสืนากาโน นอกจากงานบันทึกเสียงแล้วก็จะมีจัดคอนเสิร์ตในช่วงเดือน สค. นี้ด้วย