Rating: | ★★ |
Category: | Other |
แต่ผมจะรู้สึกงั้นๆ เมื่อเจอกับหานหาน ไม่รู้ดิ ดูกลวงๆ เก่งธุรกิจจริงๆมันตอบสนองความต้องการชั้นล่างของมนุษย์เลย ยกเว้นจะรู้จักมองอะไรทะลุไปลงไป
แล้วทำไมต้องมีแต่สาหร่ายแบบทอดก็ไม่รู้ ไขมันจุกคอตาย 5555
=========================================
แปลกว่าทำไมไม่มีคนเขียนถึงหานหาน หาอ่านภาษาไทยไม่เจอ หรือผมตาถั่วเอง
จริงๆสื่อน่าจะเขียนนะเนี่ย ผมเห็นความเห็นของเขาเรื่องการเมือง วัฒนธรรม หรืออื่นๆเป็นที่น่าสนใจ ผมเขียนก่อนละกัน
ตี๋คนไหนเขียนอะไรแล้วมีผู้คลิ๊กเข้าไปอ่านมากกว่า๕๐๐ล้าน ก็น่าจะเรียกได้ว่าเป็นนักเขียนที่ทรงอิทธิพลอย่างสูงต่อคนจีน
หากชาวจีนพันล้านคนกระโดดพร้อมกันแกนโลกอาจจะเอียงได้ คำกล่าวอุปมาอุปมัยในหนังสือ When A Billion Chinese Jump ของ Jonathan Watts มีคำถามต่อไปว่า แล้วใครล่ะที่จะทำให้คนจีนพันล้านคนกระโดดพร้อมกันได้ ไม่แน่เสมอไปว่าจะต้องเป็น นายกฯ เวินเจียเป่า แต่อาจเป็นหนุ่มบล๊อคเกอร์เจนเนอเรชั่น ๘๐ อายุประมาณ ๓๐ ปีที่ชื่อ หานหาน (韓寒) คนนี้
เมื่อปี ๒๐๑๐ นิตยสาร Time ตีพิมพ์ ๑๐๐ บุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลก หานหานอยู่อันดับเทียบได้กับโอบาม่าเลยทีเดียว และก็เป็นอันดับสูงที่สุดของจีน ทั้ง CNN ทั้ง NHK ต่างก็วิ่งตามเพื่อขอสัมภาษณ์ สื่อไทยชอบสัมภาษณ์แต่ตู่กับเต้ง จนถึงวันนี้มีคนเข้าไปอ่านบล๊อกของหานหานแล้วกว่า ๕๖๐ล้านคน มากกว่าประชากรไทยอีก เริ่มตั้งแต่อายุ ๑๘ เขาก็เขียนเรื่องสั้นเสียดสีระบบการศึกษาที่แข็งกร้าวของจีนเรื่อง 三重門 (Three Layers of Doors) ถึงวันนี้ขายไปแล้ว ๒ ล้านกว่าฉบับ เป็นหนังสือขายดีติดอันดับสูงสุดของจีนในช่วง ๒๐ ปี (คงมีก๊อปปี้ด้วยอีกบาน) ๑๓ ปีที่ผ่านมาเขามีงานเขียนออกมาเกือบ ๒๐ เล่ม แต่ละเล่มล้วนขายดีติดอันดับ เท่านั้นไม่พอหานหานยังเป็นนักแข่งรถมือดีอีกต่างหาก เคยได้ถ้วย BMW Asian Cup มาครอบครอง (ชื่อรางวัลจริงๆชื่ออะไรไม่รู้ ผมขี้เกียจหา)
การเมือง
วันที่ ๘ มิ.ย. ๒๐๑๐ Liu Xiao Bo(劉曉波) ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ ชื่อของเขาสามคำนี้ไม่ว่าที่ไหนโดนทางการจีนปิดกั้นไว้หมด พิมพ์ค้นหาข่าวสารที่เกี่ยวข้องให้ตายก็ไม่เจอ ในไทยผมเห็นความเห็นในเว็บ ผจก.จะออกไปทางด่าฝรั่งเสียเยอะว่าบ่อนทำลายจีน ผมก็เห็นด้วยนิดๆ คือทุกคนนั่งอยู่เมืองไทยวิจารณ์น่ะ แต่เสียงของประชาชนจีนเป็นเช่นไร?? หลังจากการประกาศรางวัลในวันนั้น หานหานโพสท์บทความหนึ่งใช้ชื่อ “๘ มิ.ย. ๒๐๑๐” แล้วเขียนเนื้อหาอันชาญฉลาดด้วยว่างเปล่า มีแต่เครื่องหมายอัญประกาศ “ “ เท่านั้นอยู่ในเนื้อความ คุณเอย..แค่นาทีแรกๆก็มีคนเข้าไปแสดงความเห็นเป็นหมื่น เห็นได้ว่าเมื่อถูกปิดกั้นมากๆแรงต้านก็เพิ่มพูนเป็นธรรมดา
หานหานได้มีโอกาศเดินทางไปเกาะไต้หวันเมื่อเดือน พค. หลังจากกลับไปเมืองจีนก็โพสท์บทความชื่อ “สายลมแห่งแปซิฟิค” (太平洋的風) กล่าวถึงเรื่องราวที่เขาทำโทรศัพท์ตกไว้ในแท็กซี่ แต่คนขับก็นำไปคืนถึงเขาถึงโรงแรม เขาเขียนชมว่าวัฒนธรรมจีนอันดีงามถูกปกปักรักษาไว้ที่ไต้หวัน มีผู้อ่านบทความจำนวนมหาศาล Yahoo Collage China ทันทีถึงกับต้องเปิดคลาสที่มีชื่อว่า “ไต้หวันอนุรักษ์รากเง่าประเพณีของจีนไว้ได้อย่างไร” (ไต้หวันมีต้นทุนด้านนี้อยู่เยอะ ข้อบ่งชี้พื้นฐานเช่นทั่วๆไปในที่สาธารณะมีคนลุกให้คนแก่ คนพิการนั่ง มีพูดขอบคุณ รู้จักเข้าแถว ซื้อของไม่ต้องกลัวถูกฟันราคา ฯลฯ) ปธน. ม่าอิงจิ่วของไต้หวันก็ยังเอาเรื่องของเขาไปใช้ในสุนทรพจน์ หานหานบอกว่าผู้คนตามท้องถนนในไต้หวันล้วนมีความสุภาพ เจี่ยงเจี้ยสือ (เจียงไคเช็ค) ไม่ว่าจะเป็นเผด็จการยังไง แต่เรื่องการวางพื้นฐานการศึกษาประเพณีอันดีงามนั้นมิได้ขาดตกบกพร่อง
ความเห็นต่างๆของหานหานไม่จำเป็นที่จะทำให้พื้นดินสั่นสะเทือน แต่ทำให้จิตใจสั่นไหวแน่นอน อาจไม่ทำให้แกนโลกย้ายตำแหน่ง แต่ก็ทำให้แกนความคิดขยับเขยื้อนได้ กระแสหานหานมาแรงจนพิธีกรชื่อดังโจวลี่โปยังพูดตลกๆว่า “แม้กระทั่งคนเกาหลียังจะพยายามตีตราให้หานหานเป็นคนเกาหลี” (ผมไปค้นๆมามีหนังเกาหลีชื่อหานหาน เขียนตัวอักษรเหมือนกัน และชื่อประเทศเกาหลีก็ใช้ตัวอักษรหัน韓เหมือนกันอีกด้วย...งงดี)
นิตยสาร Time ให้ฉายาเขาไว้ว่าเป็นบล๊อคเกอร์ที่ได้รับการต้อนรับมากที่สุดในโลก แต่ก็มีผู้วิจารณ์ว่าเพราะแค่อ่านง่ายและคนช่วยกันแห่เข้าไปดูตามๆกัน นักประพันธ์อาเฉิง (阿成) กล่าวว่าเขาชอบอ่านบล๊อกของหานหาน สไตล์การเขียนเป็นการวิพากษ์ด้วยสามัญสำนึกคล้ายๆกับงานเขียนของ ลู่ซุ่น (魯迅, LuXun นักเขียนสมัยช่วงประธานเหมาฯ http://en.wikipedia.org/wiki/Lu_Xun) นักเขียนฮ่องกง เหลียงเหวินต้าว (梁文道) บอกว่าจากอันดับผู้ทรงอิทธิพลใน Time และจากเสียงต้อนรับของประชาชน หานหานอาจจะเป็นลู่ซุ่นคนต่อไปก็ได้ เพราะลมหายใจของเขาเป็นสิ่งเดียวกับประชาชน อื่นๆก็มีวิจารณ์ว่าเขาเกิดขึ้นมาได้ก็เพราะ social network และเป็นฮีโร่ที่เทรนด์ของยุคสมัยนี้มันพาไป ทำให้เกิดขึ้นมาเอง แต่ก็มีคำถามต่อไปว่าทำไมฮีโร่ไม่ใช่คนอื่นจากบันดาชาวเน็ทเป็นร้อยล้านล่ะ หานหานบอกว่าเขาก็เห็นคนอื่นเขียนเหมือนกัน คนเขียนวิจารณ์รัฐบาลหรือความไม่ยุติธรรมในสังคมมีมากมาย แต่สงสัยบทความของเขาอ่านดีมั๊งคนเลยนิยม เขาบอกว่าตั้งแต่เล็กๆเขาชอบอ่านผลงานของนักเขียนยุคแรกหลังจีนปลดปล่อย เช่นหนังสือของเฉียนจง (錢鍾) นับเป็นแบบอย่างที่เขาเจริญรอยตาม เพราะสิ่งที่เฉียนจงเขียนมักจะให้ความสนใจต่อสังคม หากตอนเด็กๆเขาชอบอ่าน ChiungYao (瓊瑤 นักเขียนไต้หวัน) จินยง (金庸 ,กิมย้ง, นักเขียนนิยายกำลังภายในของจีน) หรือ เหลียวยง (劉墉,จิตกรและนักประพันธ์ไต้หวัน) สไตล์การเขียนของเขาก็อาจแตกต่างออกไป แล้วทำไมประสบความสำเร็จ ตอบแบบง่ายๆก็คือเขาคาดหวังว่าเขียนอะไรออกมาแล้วมันต้องดีมีคุณภาพ ส่งเข้าประกวดต้องได้รางวัล เขียนเสร็จแล้วต้องมีคนอ่าน ความงดงามของหนังสือ, มุกตลก เป็นสิ่งสำคัญ การวิพากษ์ที่เฉียบคมและอ่านง่าย ปรกติเขาเป็นคนเฮฮาอยู่แล้ว อารมณ์ขันถูกใช้ที่จริงก็เพื่อให้ผู่อ่านอ่านจนจบ เขาบอกว่าต้องขอบคุณนักเขียนเรื่องสั้นไต้หวัน เหลียงสือชิว梁實秋 ที่เขาได้รับอิทธิพลการเขียนแบบมีอารมณ์ขันมาไม่น้อย
นอกจากนั้นก็ยังมีกระแสสงสัยว่าหานหานถูกปั้นขึ้นมา นักเขียน 麥田 สงสัยว่ามีกลุ่มบุคคลช่วยกันเขียนบทความ หนังสือขายดีเล่มแรก三重門 ก็มีพ่อช่วยเชียน หานหานก็เลยตอบโต้ด้วยการประกาศให้รางวัลยี่สิบล้านถ้าจับการปลอมแปลงได้ เขาโต้ว่า “ในยุคโซเขียลเน็ทเวิร์กอะไรก็ซ่อนไม่มิด ถ้ามีคนช่วยผมเขียนแล้วถ้าเขาออกมาแสดงตัว เขาก็ก้าวข้ามผมไปได้แน่นอน ผมก็กลายเป็นตัวทุเรศไป แต่ทำไมไม่มีคนคนนี้ล่ะ” (จริงๆเขายกตัวอย่างว่าสไตล์การเขียนมันปลอมกันไม่ได้ แต่ผมไม่ขอแปล) เรื่องที่ทำให้เขาเจ็บปวดกลับไม่ใช่เรื่องนี้แต่เป็นเรื่องไปเจอคนในลิฟท์คุยกันสองประโยค นายนั่นบอกว่าเขาดูเรียบร้อย ไม่ทิ่มแทงเหมือนในบทความ ต้องมีคนอื่นช่วยเขียนแน่ๆ หานหานบอกว่าเขาใจดีกับคนอื่น แต่ถ้าเจอนายคนนั้นอีกทีทุบซักหมัดจะเอามั๊ยจะได้รู้
คมๆแบบนี้ทางการจีนจับตาอยู่แน่นอน งานเขียนของเขาทุกๆ ๔ บทความ จะมีถูกห้ามเสีย ๑ บทความ แต่ยิ่งห้ามยิ่งมีคนอยากอ่าน คนอ่านยิ่งชอบ นั่นก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เขาเป็นที่แพร่หลาย นอกจากมีคนสงสัยว่าเขาเป็นคนเขียนตัวปลอมแล้วก็ยังมีคนสงสัยแรงจูงใจ เขาบอกว่าเขียนบทความเดี๋ยวนี้มีข้อจำกัดมากมาย ถ้าเขาไม่วิจารณ์เรื่องใดๆสักเรื่องก็จะมีคนบอกว่าเขาสมองฝ่อ แต่พอเขาเอ่ยปากก็จะมีพวกบอกว่าเขาเอาการเมืองมาขายกินเพื่อต้องการดึงดูดความสนใจ ตอนเขาวิพากษ์รัฐบาลก็จะมีพวกบอกว่าเขารับเงินอเมริกันหรือไต้หวัน แต่พอเขาไม่ทำ คิดว่ารัฐบาลไหนๆก็ไม่มีดีหมดหรือร้ายหมด ๑๐๐% หรือที่เขียนบทความหลายๆชิ้นช่วยพูดแทนรัฐบาลสักหน่อยก็จะมีคนบอกว่ารัฐบาลจ้างมา คนจีนชอบคิดว่าจะทำอะไรต้องได้เงิน ไม่ได้เงินทำไมต้องไปทำอะไรมากมาย เขากล่าวว่าคนจีนส่วนมากมักจะไม่คิดว่าคนเราสามารถทำอะไรด้วยอุดมคติ ความสนใจหรือความเชื่อ มันน่าเศร้า
“ผมไม่ขาดเงิน”
แล้วจริงๆมีบริษัทหรือนายทุนมาเสนอเงินให้เขียนอะไรหรือเปล่า?? “มี” มีมาคุยด้วย อักษรหนึ่งตัวให้ราคา ๑๐๐๐๐RMB จะเขียนบทความชิ้นหนึ่งต้องเขียนประมาณ ๕๐๐ อักษร รวมเป็นเงิน ๕๐๐๐๐๐๐RMB (ยี่สิบสามล้านบาท approx.) เขียนทีหนึ่งครึ่งชั่วโมงได้เงินมากกว่าหลายๆคนทำงานทั้งปี แล้วทำไมไม่ทำ หานหานบอกว่าถ้าใครก็ตามสามารถถูกซื้อด้วยเงิน เขาคนนั้นไม่สามารถเขียนอะไรที่ทุกๆคนชอบอ่านได้หรอก (เอ่อ..จริง หนังสือพวกทำยังไงให้รวยล้นตลาด) เขารู้สึกว่าลักษณะของงานเขียนกับบุคคลิกของคนเขียนมันผ่านทะลุถึงกัน ถ้าคุณเป็นคนประเภทเห็นเงินแล้วตาลุกวาวรับรองในงานเขียนมันปิดไม่มิด เขาก็ไม่ใช่จะปัญญาอ่อน การรับเงินใช่ว่าจะเป็นการฉลาด หนังสือแต่ละเล่มก็ขายดีอยู่แล้ว สรุปแล้วเขาว่า “ผมไม่ขาดเงิน” แล้วรัฐบาลไม่พยายามมาติดต่อบ้างเหรอ?? หานหานคอตก (ไม่รู้หูตูบด้วยหรือเปล่า) มองไปที่โทรศัพท์บนโต๊ะแล้วพูดว่า “ผมเชื่อว่าโทรศัพท์ของผมถูกดักฟังตลอดเวลา” รัฐบาลฟังบทสนทนา เข้าใจว่าผมคืออะไรก็ควรจะเข้าใจว่าผมไม่ใช่คนที่จะมาซื้อขายได้
ที่จริงสิ่งที่มีอิทธิพลต่อเขามากตอนนี้กลับไม่ใช่รัฐบาลหรือนายทุน แต่กลับเป็นชาวเน็ทผู้อ่านทั้งหลาย บทความของเขาส่งเสริมอิสรภาพ แต่กลับทำให้ตนเองขาดอิสรภาพ “ รัฐบาลสร้างกฏเกณฑ์และความกดดันให้กับผม แต่อย่างมากก็ทำได้แค่ลบบทความผมทิ้ง ถ้าเปรียบกับปัญญาชนท่านอื่นๆที่ถูกทางการคุกคามทำร้าย ความยากลำบากของผมมันก็แค่ขี้ผง แต่ข่าวโคมลอยจากคนอื่นต่างหากที่มักทำให้ผมรู้สึกหดหู่”
วัยรุ่นจีนกับความสับสน
ถ้าพูดแทนประเทศที่ประสบความสำเร็จทางเศรษฐกิจอย่างอัศจรรย์ หานหานกลับเห็นว่าอนาคตของวัยรุ่นจีนมืดมน มองถึงเบื้องหลังความสำเร็จของตัวเลข GDP ล้วนเต็มไปด้วยความเฉยชาหมดหวังของผู้คน จีนมีประชากรวัยรุ่นมหาศาลที่ต้องจากบ้านไปทำงานไกลโพ้นมากกว่าประเทศอื่นๆ ต้องไปยืนบนขาของตัวเองให้ได้ในต่างเมือง ข้างเคียงไม่มีญาติสนิทมิตรสหาย ค่าครองชีพก็สูงค่าแรงก็ต่ำ ล้วนทำให้เกิดความสิ้นหวัง เขาเองเคยเขียนวิพากษ์ค่าแรงที่ต่ำหรือเขียนพรรณาวัยรุ่นที่กระโดดตึกตายไว้ว่า ” 本該在心中的熱血, 它塗在地上” "เลือดอุ่นๆที่ควรจะอยู่ในหัวใจ กลับกลายกระจายอยู่บนแผ่นพื้น" นักเขียน Ye Mei Yao บอกว่าเห็นประโยคนี้แล้วน้ำตาไหล หานหานบอกว่าอย่าเอาวัยรุ่นออฟฟิศในซั่งไห่ เป่ยจิง มาประเมินอานาคตของวัยรุ่นที่เหลือ พวกนี้ก็แค่เสียงดัง แต่คนที่อยู่ชั้นล่างจริงๆนั้นไม่มีเวลาและไม่มีเรี่ยวแรงที่จะเปล่งเสียง หรือบอกต่อว่าวัยรุ่นประเทศอื่นที่บ่นไม่พอใจว่าลองมาอยู่ในจีนสักสองปีก็จะรู้ดี
“จีนจะต้องเดินตามแนวประชาธิปไตย เพียงแต่กระแสต้านจะมีมาก”
หานหานบอกว่า จีนใช้เวลาหลายสิบปีใน struggle session (鬥爭, คือการเอาศัตรูของชนชั้นเช่นคนรวย ปัญญาชน ฯลฯ มาแห่แหนประนามให้อับอายโดยท่านเหมาฯ มีที่โดนประชาชนอารมณ์คึกเอาหินขว้างตายไปซ๊ะเยอะ , http://en.wikipedia.org/wiki/Struggle_session ) และยังใช้เวลาอีก ๓๐ ปีสอนให้คนละโมบ ผ่านเลยมาตั้ง ๖๐ ปีก็ยิ่งทำให้ผู้คนยิ่งโหดร้าย ยิ่งโลภมาก สภาพแบบนี้การเดินหน้าประชาธิปไตยย่อมต้องเจอกับแนวต้าน ประชาธิปไตยต้องผ่านกระบวนการประนีประนอม แต่ในเมืองจีนอาจกลายเป็นเรื่องตาต่อตาฟันต่อฟันไป จีนเป็นประเทศใหญ่ แต่ละหมู่เหล่ามีประชากรนับร้อยล้าน ถ้าเอื้อประโยชน์กับกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ก็อาจไปละเมิดกลุ่มอื่นอีกหลายร้อยล้าน ทะเลาะกันไปทะเลาะกันมา สุดท้ายแล้วประชาชนอาจรู้สึกรำคาญก็เลยอาจจะบอกว่าฟังเสียงเผด็จการจากผู้ปกครองละกัน หานหานบอกว่าจีนใช้เงินจัดเวิร์ดเอ็กซ์โปจัดโอลิมปิคไปมหาศาล ชาวจีนล้วนรู้สึกดี รู้สึกมีหน้ามีตา ถ้าจีนเป็นประชาธิปไตยรับรองทำไม่ได้ แล้วสุดท้ายชาวจีนจะว่ายังไง นอกจากนั้นคนจีนรุ่นใหม่ก็ไม่เหมือนเดิม ไม่ได้โกรธเคืองเดือดดาน จีนในอีก ๑๐ปี ๒๐ปีข้างหน้า ประชาชนจะคิดอย่างไรกับเรื่องสิทธิก็ไม่สามารถจะคาดเดา แต่จะต้องเป็นประชาธิปไตยแน่ๆ เพียงแต่เป็นประชาธิปไตยแบบไหนต่างหากที่เป็นปัญหา
ปล. เคยมีเพื่อนของหานหานแนะนำให้เขาไปซื้อคอนโดฯ แต่เขากลับเอาเงินไปซื้อล้อรถแข่ง
ตอนหลังตึกหลังนั้นราคาเพิ่มขึ้นร้อยเท่า มีคนถามว่าเขาเสียใจหรือเปล่า เขายิ้มๆแล้วตอบว่าถ้าวันนั้นเขาซื้อ
เขาก็อาจจะไม่ใช่นักเขียนในวันนี้ อาจจะไปเป็นนักซื้อขายอสัมหาฯ เขาเลือกทางเดินของเขาเอง
จบครับ!!
เยี่ยมครับ ...
ReplyDeleteอายุเท่าโอ๊ค
ReplyDeleteแหม พี่ก็เอาไปเปรียบกันได้ ... 555
ReplyDelete