Saturday, September 29, 2012
Friday, September 28, 2012
Thursday, September 27, 2012
Wednesday, September 26, 2012
Tuesday, September 25, 2012
Monday, September 24, 2012
Sunday, September 23, 2012
Saturday, September 22, 2012
Friday, September 21, 2012
Thursday, September 20, 2012
Wednesday, September 19, 2012
Tuesday, September 18, 2012
Monday, September 17, 2012
Saturday, September 15, 2012
Friday, September 14, 2012
ชาวจีน...อย่างไรหลังความตาย ? sound clip
Rating: | ★★ |
Category: | Other |
ชาวจีน...อย่างไรหลังความตาย? ตายแล้วไปไหน? ภพชาติมีจริงหรือไม่?
เผากระดาษ...ทำกงเต๊กเพื่ออะไร? และทำไม?
- ดนัย ผลึกมณฑล (นามปากกา แปลงนาม),
- ผู้ดำเนินรายการ ดร.ศิริเพ็ญ อึ้งสิทธิพูนพร, สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเซีย มหิดล
ช่วงท้ายการเสวนา
แถมลิงค์อัลบั้มภาพจาก New York Times ผมไปเจอมา
A Panoramic View of China’s Cultural Revolution
มีอยู่สิบกว่าภาพ เห็นเป็นเรื่องจีนๆเหมือนกันเข้ากันพอได้ อยากดูมากกว่านี้คงต้องไปซื้อหนังสือเขา
เข้าไปดูได้ในลิงค์ :
เป็นช่างภาพที่ถ่ายภาพช่วงล้างวัฒนธรรมโดยแอบซ่อนฟิล์มที่เป็นด้านลบของ red guard ไว้ใต้พื้นที่บ้านแล้วเหลือรอดมาได้
โดยหลายสิบปีต่อมาก็ถูกตีพิมพ์ในต่างประเทศ ในจีนก็ค่อนข้างจะถูกห้ามและไม่เป็นที่รู้จักมากนัก
ปรกติช่างภาพสมัยนั้นถ่ายได้แต่สิ่งที่พรรคคอมมิวนิสต์ชอบและเอาไปทำ propaganda ได้
วัดวาอาราม หนังสือ ตำรา ปราชญ์ ปัญญาชน โดนพวก red guard ล้างทิ้ง เอาไปทำปุ๋ยเสียเยอะ
ในคลิ๊ปข้างบนคุณดนัยก็บอกไว้เหมือนกับหลายๆคนว่าที่เห็นๆในจีนตอนนี้มันคือการจัดฉากสำหรับท่องเที่ยวเท่านั้น
Li Zhengsheng เอากล้องเลนส์ fix ธรรมดามาซูมด้วยเท้า แพนโดยไม่มีขาตั้ง ออกมาเป็นภาพพานอราม่า
Wednesday, September 12, 2012
Sunday, September 9, 2012
Saturday, September 8, 2012
200 อันดับมหาวิทยาลัยโลก จุฬาฯ ร่วงอยู่ที่ 180
Rating: | ★★ |
Category: | Other |
200 อันดับมหาวิทยาลัยโลก จุฬาฯ ร่วงอยู่ที่ 180
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม ขอขอบคุณภาพประกอบจาก wikipedia , dotting.me
เมื่อวันที่ 8 กันยายนที่ผ่านมา สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า QS World University ได้จัดอันดับ 200 สุดยอดมหาวิทยาลัยโลกประจำปี 2010 ปรากฏว่า ในปีนี้ มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ของอังกฤษ คว้าแชมป์มหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของโลกไปครอง แทนที่ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในสหรัฐฯ ซึ่งครองแชมป์เหนือมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์มานานหลายปี โดยการจัดอันดับดังกล่าวนี้ ได้ดำเนินการโดยนักวิชาการทั่วโลกกว่า 15,000 คน ซึ่งพิจารณาจากปัจจัยหลาย ๆ ด้าน เช่น คุณภาพของผลงานวิจัย จำนวนนักศึกษาต่างชาติ สาขาในคณะต่าง ๆ อัตราการได้งานทำของบัณฑิต และมาตรฐานการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัย เป็นต้น ซึ่งในปีนี้ สหรัฐอเมริกา ยังคงครองแชมป์มหาวิทยาลัยที่ติดอันดับมากที่สุด เพราะเพียงแค่ 20 อันดับแรก ก็ปรากฏรายชื่อมหาวิทยาลัยของสหรัฐฯ ไปแล้วถึง 13 อันดับ เลยทีเดียว
สำหรับผลการจัดอันดับสุดยอดมหาวิทยาลัยโลก 20 อันดับแรก เป็นดังนี้
1. มหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ อังกฤษ ได้ 100.00 คะแนน
2. มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐฯ ได้ 99.18 คะแนน
3. มหาวิทยาลัยเยล สหรัฐฯ ได้ 98.68 คะแนน
4. มหาวิทยาลัยยูซีแอล อังกฤษ ได้ 98.54 คะแนน
5. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแมซซาชูเสทส์ ได้ 98.19 คะแนน
6. มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด อังกฤษ ได้ 98.16 คะแนน
7. มหาวิทยาลัยอิมพิเรียลคอลเลจ ลอนดอน ได้ 97.78 คะแนน
8. มหาวิทยาลัยชิคาโก สหรัฐฯ ได้ 97.52 คะแนน
9. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย สหรัฐฯ ได้ 96.46 คะแนน
10. มหาวิทยาลัยพรินส์ตัน สหรัฐฯ ได้ 96.03 คะแนน
11. มหาวิทยาลัยโคลัมเบีย สหรัฐฯ ได้ 95.99 คะแนน
12. มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย สหรัฐฯ ได้ 95.97 คะแนน
13. มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐฯ ได้ 93.62 คะแนน
14. มหาวิทยาลัยดู๊ก สหรัฐฯ ได้ 92.29 คะแนน
15. มหาวิทยาลัยมิชิแกน สหรัฐฯ ได้ 92.20 คะแนน
16. มหาวิทยาลัยคอร์เนล สหรัฐฯ ได้ 90.44 คะแนน
17. มหาวิทยาลัยจอห์นฮอปกินส์ สหรัฐฯ ได้ 89.67 คะแนน
18. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสวิซ สวิสเซอร์แลนด์ ได้ 89.28 คะแนน
19. มหาวิทยาลัยแมคกิล แคนาดา ได้ 89.25 คะแนน
20. มหาวิทยาลัยนานาชาติออสเตรเลีย ได้ 88.58 คะแนน
โดยในปีนี้ประเทศในเอเชียที่มีมหาวิทยาลัยติดอันดับโลกมากที่สุด ยังคงเป็นประเทศญี่ปุ่นเช่นเคย ส่วนมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งของไทยอย่างจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น ในปีนี้ตกอันดับจากอันดับที่ 138 ลงมาอยู่ในอันดับที่ 180
อันดับมหาวิทยาลัยในเอเชียที่น่าสนใจอื่น ๆ ได้แก่
มหาวิทยาลัยโตเกียว ติดอันดับที่ 24
มหาวิทยาลัยนานาชาติสิงคโปร์ ติดอันดับที่ 31
มหาวิทยาลัยฮ่องกง ติดอันดับที่ 42
มหาวิทยาลัยโซล ติดอันดับที่ 50
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อันดับที่ 180
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีบอมเบย์ อินเดีย อันดับที่ 187 เป็นต้น
สำหรับ 200 อันดับมหาวิทยาลัยทั่วโลกมีอันดับดังนี้
http://education.kapook.com/view16726.html
Friday, September 7, 2012
Wednesday, September 5, 2012
Tuesday, September 4, 2012
Monday, September 3, 2012
Sunday, September 2, 2012
Saturday, September 1, 2012
Friday, August 31, 2012
Thursday, August 30, 2012
ตึกยุคโซเวียต
Rating: | ★★★ |
Category: | Other |
คือผมเห็น apartment block เก่าๆหน่อยของเขา สังเกตุว่ามันไม่มีคาน ไม่มีเสา
เห็นแต่ slab บางๆ กับผนังบางๆเท่านั้น
และมันสูง 5 ชั้น ไม่ใช่เตี้ยๆ ถามชาวบ้านก็บอกได้แค่ว่าเป็นตึกเก่ายุคโซเวียต
ตอนนี้รู้แล้ว
คือดูๆแล้วมันจะเป็นบล๊อคๆเหมือนกันหมด ถ้าสร้างบนพื้นที่เรียบๆกว้างๆแล้วอาจหาบ้านตัวเองไม่เจอ
จนเขาเอาไปทำเป็นหนังล้อเลียนเรื่อง Ирония судьбы (ผมเคยเอามาโพสท์ไว้นานแล้ว)
เรื่องของวันปีใหม่ ชายหนุ่มที่ใกล้จะแต่งงานเมาหลงเข้าไปพบรักในบ้านของสาวอีกคนหนึ่ง
ซึ่งก็มีแฟนอยู่แล้ว เหตุเพราะตึกมันเหมือนกัน หนังเก่าที่ดูออกจะเหื่อยๆเชยๆ แต่ว่าฮิตติดใจคนรัสเซียมาก
วันปีใหม่หิมะตกขาวโพลนออกไปไหนไม่ได้เขาจะต้องเอาออกมาออกอากาศทุกๆปี
ตึกมันดูคล้ายกันก็จริงแต่ถ้าเอามาตั้งสร้างไว้บน landscape ที่มันมีจังหวะจะโคน
มันทำให้เมืองดูมี pattern ที่สวยงามไปอีกแบบหนึ่งในสเกลที่ใหญ่ๆกว่าตัวอาคาร
ดูหมู่บ้านดินโบราณในอัฟฟริกา ในอเมริกาใต้ หรือจีนก็มี มันจะเป็น pattern ที่มีความมกลมกลืนแบบนี้ทั้งนั้น
ดูในหนังเรื่อง Home น่ะเห็นเยอะเลย
บางคนดูถูกว่าไม่สวย เป็นสี่เหลี่ยมๆเหมือนกันหมด ผมว่าไม่จริงหรอก เอามารวมกันแล้วดีทีเดียว
ไม่ดูขยะๆเพราะแข่งกันสวย เรียกว่าเป็น minimalism อีกอย่างก็ได้มั๊ง
Wednesday, August 29, 2012
Sunday, August 26, 2012
Saturday, August 25, 2012
Friday, August 24, 2012
Thursday, August 23, 2012
Wednesday, August 22, 2012
Tuesday, August 21, 2012
Monday, August 20, 2012
อาเฮียจะปิดกั้นความคิดคนเกินไปหรือเปล่า
Rating: | |
Category: | Other |
=========================================
ผมแนะว่าให้ลองฟังคุณลุงในคลิ๊ปพูดเรื่องเทคโนโลยีมันน่ากลัวยังไงให้จบก่อนอ่านครับ
จริงๆทีแรกผมไม่สนใจ อยากเอาออกอยากห้ามทำอะไรก็ห้ามไป แต่ผมสะกิดใจตรงที่บอกคล้ายๆกับว่าเทคโนโลยีมันน่ากลัวนี่ล่ะ
ผมเคยเอาความเห็นของศิลปินมาเขียนไว้ว่า “เพลงเถื่อนเป็นเรื่องประเสริฐ โหลดได้โหลดไป, Joss Stone piracy is great”
http://hayyana.multiply.com/reviews/item/243
วันนี้จะเขียนเรื่องเผด็จการ content และการไม่เข้าใจสัญชาตญาณที่มากับเทคโนโลยี เพราะได้ข่าวมาว่าเขาห้ามเอาไปเล่นใหม่่ เอาไปรีมิกซ์ ห้ามหมด
ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้วคือผมจำเขามาหรืออ่านๆมาทั้งหมด แทบจะไม่มีอะไรที่ผมคิดเองเลย 5555
.
คุณลุงแกบอก “เจ้าของเทคโนโลยีเขาจะทำอะไรขึ้นมาเขาจะคำนึกถึงเจ้าของสิทธิ์” พูดถึงความน่ากลัวของเทคโนโลยี่ เรื่องกฏหมายลิขสิทธิอะไรต่างๆ
พูดง่ายๆย่อๆคือเราเอาเพลงเขามาฟังในมือถือไม่ได้ เอามาเล่นไม่ได้ เอามาตัดแต่งไม่ได้ ต้องจ่ายตังค์ จริงๆเรื่องนี้เมืองนอกก็มีปัญหาความล้าหลังของกฏหมายครับ
เทคโนโลยีนำอะไรมาครับ เมื่อพูดถึงเรื่องเนื้อหาที่สร้างโดยผู้คนทั่วไปใครก็ตามหรือ user-generated content
มีตัวอย่างความไม่ทันเทคโนโลยีมายกให้ดู ๓ ตัวอย่าง
๑)
เมื่อก่อนจะฟังเพลงคือต้องฟังเล่นสดๆร้องสดๆเท่านั้น เชื่อหรือไม่ว่าคราวที่เรามีเครื่องอัดเสียงเกิดขึ้นมาบนโลกก็มีคนต่อต้านเครื่องอัดเสียงมากมาย
บอกว่ามันจะทำลายความสวยงามของดนตรี นักร้องยุคแรกๆที่ต่อต้านการอัดเสียงก็มีเยอะอย่างที่ผมชอบแล้วจำได้ก็มี Nellie Melba คนหนึ่งล่ะ
.
ที่หนักเลยในอดีตและเป็นกรณีศึกษาก็อย่างเช่น John Phillip Sausa http://en.wikipedia.org/wiki/John_Philip_Sousa
ที่นำเอาเรื่องเครื่องอัดเสียงที่บางทีสมัยนั้นเรียก Talking Machine เข้าสภาคองเกรส (๑๙๐๖) บอกว่า “เจ้าเครื่อง talking machine นี้จะทำลายการพัฒนาทางด้านสุนทรียศาสตร์ทางดนตรีในประเทศอเมริกา” เขากล่าวถึงเด็กๆทุกบ้านที่นั่งร้องเพลงเก่าๆด้วยกันตอนเย็นๆฤดูร้อนจะถูกแทนที่ด้วยไอ้เครื่องนรกนี่ที่เปิดเสียงได้ทั้งวันทั้งคืน จะทำให้เส้นเสียง vocal cord หายไปจากมนุษย์เพราะถูกตัดออกจากกระบวนการวิวัฒนาการเช่นเดียวกับหางที่หายไปเมื่อตอนที่เราพัฒนามาจากลิง
เหมือนที่คุณลุงในคลิ๊ปบอกว่าเทคโนโลยีมันน่ากลัวหรือเปล่าครับ ทุกวันนี้ทีเครื่องอัดเสียงเต็มไปหมดแถมมนุษย์พูดมากกว่าเดิมเสียด้วยซ้ำ
.
๒)
มาเรื่องเทคโนโลยีที่มาใหม่กับสิทธิการเป็นเจ้าของกันบ้าง
เมื่อก่อนสิทธิการเป็นเจ้าของที่ดินถูกคุ้มครองโดยกฏหมายบุกรุก โดย Lord Blackstone
( http://en.wikipedia.org/wiki/William_Blackstone )
อธิบายไว้ว่า กฏหมายปกป้องการบุกรุกอาณาเขตลึกลงไปใต้ธรณีและสูงขึ้นไปในอากาศ (infinite extent upward) คือสูงขึ้นไปไร้ขอบเขตจำกัด
แปลว่า UFO บินผ่านหลังคาบ้านสูงขึ้นไป ๕๐๐ กิโลเมตรก็ผิดกฏหมาย
เนื่องจากเมื่อก่อนนอกจากนกแล้วไม่มีอย่างอื่น แต่เผอิญวันหนึ่งมีคนสร้างเครื่องบินขึ้นมา แล้วดันไปบินผ่านบ้านของชาวบ้าน
ซึ่งในปี ๑๘๔๕ มีกรณีนี้เกิดขึ้นกับชาวนาสองคนชื่อ Lee & Tinie Causby โดยเขาบอกว่าเครื่องบินทำให้เดือดร้อน
ไก่ที่เลี้ยงมีพฤติกรรมเลียนแบบเครื่องบิน บินตามเอาหัวโหม่งกำแพงตาย หากพวกเขาไปฟ้อง Lord Blackstone เพื่อเรียกร้องความเสียหายล่ะ
ดูไร้สาระนะครับ แต่เมื่อก่อนมันเป็นเรื่องถกเถียงกันขึ้นโรงขึ้นศาลชี้ให้เราเห็นช่องว่างของกฏหมายต่อเทคโนโลยีที่มาใหม่
ยังดีที่ผู้พิพากษา Douglas แห่งศาลสูงสุดไห้คำร้องเป็นอันตกไป เพราะมิฉะนั้นเครื่องบินโดยสารข้ามทวีปก็ไม่ต้องบินกัน
เป็นสามัญสำนึกใช่หรือไม่ ผมอยากให้ลองนึกถึงเรื่องเพลงดู ถ้าเผอิญคุณไปได้ยินเพลงมาจากที่ไหนแล้วจำจนร้องได้
เล่นกีตาร์ได้ วันดีคืนดีอยากจะโชว์เพื่อนเลยเล่นกีตาร์ร้องเพลงอัปโหลดขึ้นยูทูป อย่างนี้ผิดกฏหมายหรือเปล่า??????
หรือคุณจะต้องฝังเพลงที่ได้ยินไว้ในหลุมแห่งความทรงจำเสมอเพราะว่าคุณไม่ใช่ original creator of content เช่นนั้นหรือ
.
๓)
ลึกลงมาในเรื่องเพลงอีกหน่อย สมัยโบราณการแต่งเพลงจะแต่งให้เศรษฐีหรือขุนนางฟัง เวลาจะฟังก็ต้องฟังสดเท่านั้น ชาวบ้านอยากฟังก็ต้องมีเพลงของตัวเอง
ช่วงหลังๆถึงมีการแต่งเพลงเพื่อมวลชน ทีนี้ก่อนที่จะมีอินเตอร์เน็ท เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นมาและเขย่าอุตสาหกรรมเนื้อหาหรือ content industry ก็คือการกระจายเสียงและแพร่ภาพออกอากาศ หรือ broadcasting technology ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วหัวหอกของเทคโนโลยีนี้ก็คืออเมริกา
ซึ่งช่วงแรกๆสิทธิการถ่ายทอดสด กระทำซ้ำ ออกอากาศ แสดงสด ฯลฯ ล้วนแต่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของ ASCAP
(American Society of Composers & Publishers) อยู่เจ้าเดียว
http://en.wikipedia.org/wiki/American_Society_of_Composers,_Authors_and_Publishers
องค์กรนี้ไม่ใช่ศิลปินแต่รับศิลปินเป็นสมาชิก
แล้วก็เก็บเงินค่าลิขสิทธิ์จากผู้เอาผลงานไปเปิดหรือใช้แล้วก็หักค่าดำเนินการจากศิลปิน ฟังดูแล้วแฟร์ดี แต่ว่าการมีอำนาจผูกขาดทำให้ละโมบ
ช่วงปี ๑๙๓๑ ถึง ๑๙๓๙ ASCAP ขึ้นค่าลิขสิทธิ์เพลงไปถึง ๔๔๘% แถมไม่พอจะขึ้นอีกสองเท่า เหล่าบันดาสถานีวิทยุ ผู้ออกอากาศ หรืออื่นๆ
ที่มีความจำเป็นจะต้องใช้เพลงก็เริ่มทนไม่ได้จึงเป็นที่มาของการจัดตั้ง BMI (Broadcasting Music Incorporated) เพื่อต่อต้าน ASCAP พอจะคุ้นๆแล้วใช่มั๊ยครับ
ทั้งนี้ในช่วงระยะเวลา ๑๐ เดือนในปี ๑๙๔๑ เพลงทั้งหมดของ ASCAP ประมาณ ๑,๒๕๐,๐๐๐ เพลงถูกแบนจากสถานีวิทยุ NBC และ CBS โดยสถานีเปิดแต่เพลง
จาก BMI แทน ซึ่งทาง BMI ได้รวมเอาเพลงท้องถิ่นพวก R&B, African American, Country ซึ่งเพลงพวกนี้แต่ก่อนนั้นถูกปิดกั้น
จากการเข้าถึงโดย ASCAP เข้าไว้ด้วย แต่ที่สำคัญเลยคือ BMI เข้าไปสู่ขอบเขตมหาชนได้โดยวิธีทำสัญญาข้อตกลงและให้ฟรีต่อสมาชิก
เพราะเหตุนี้ช่วงที่ ASCAP ต้องการจะขึ้นค่าลิขสิทธิ์เป็นสองเท่า เหล่าบันดาผู้กระจายเสียงส่วนมากก็เลยแห่ไปอยู่กับ BMI กันเกือบหมด
แต่ ASCAP ก็ไม่สนใจและบอกว่าผู้ฟังจะต่อต้านเองเพราะจะไม่มีเพลงดีๆออกมาให้ฟังอีกต่อไป แต่ ASCAP คาดผิด ไม่มีผู้ต่อต้าน และธุรกิจเพลงมันก็เดินไปได้ตามวิถีของมัน กฏของ ASCAP จึงพังลงและต้องยอมเก็บค่าลิขสิทธิ์ในอัตราที่ต่ำกว่ามาก นอกจากนั้นยังมีเรื่องที่เป็นข้อวิจารณ์อีกหลายเรื่องเช่นเรื่องที่ ASCAP ขู่จะจัดการทางกฏหมายกับกลุ่มลูกเสือและเนตรนารีที่เอาเพลงในลิขสิทธิ์ของ ASCAP ไปร้องในค่ายพักแรม จะเห็นว่ากฏหมายบางทีก็ไม่ได้สมเหตุสมผลและปกป้องนายทุนจนเกินไปคล้ายๆกับกรณีคนเก็บขยะเอา DVD เก่าไปขายถูกปรับสองแสน (พกปืนไม่มีใบอนุญาตถูปรับไม่กี่พัน)
.
.
จากทั้งสามกรณี ใครจะอยากเอาเพลงออกจากยูทูปหรือห้ามเอาเพลงมาใช้ก็ทำไปเถิดครับ ผู้ฟังเขาไปหาฟังเอาที่อื่นได้
แต่การที่บอกว่าเทคโนโลยีมันน่ากลัวผมคิดว่ามันเกินจริงไปหน่อย พอไม่มี ASCAP ก็ไม่มีใครตาย ยิ่งพอมีอินเตอร์เน็ท แชร์กันระเบิด ยิ่งบอกได้เลยว่าไม่มียุคไหนที่ดนตรีมีการสร้างสรรค์และหลากหลายเท่ากับยุคนี้ จะเอาแนวไหนเพราะพริ้งหรือพิเรนยังไงมีหมด
คนเล่นดนตรีอยู่ตามบ้านบางทีทำเพลงออกมาดีกว่างานที่ผ่านการจัดการของนายทุนเสียด้วยซ้ำ คนฟังเข้าถึงคนสร้างได้โดยตรง มันส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ต่อยอดปัญญาจากความรู้เดิม และมันจะเป็นตรงกันข้ามแน่นอนถ้าถูกคลุมด้วยลิขสิทธิ์ ตัวลิขสิทธินี่ล่ะหากใช้เกินขอบเขตแล้วมันครอบความคิดสร้างสรรค์และถ่วงความเจริญ
เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ทมันทำให้มีการโต้ตอบระหว่างผู้สร้างผลงานกับผู้สะดับ หากจะห้ามใช้เพลงเลยใครจะใช้เพลงต้องจ่าย โหลดเข้ามือถือ ริงโทนเอาเพลงไป cover remix ฯลฯ ผิดกฏหมายหมด อย่างงี้มันเป็นการบังคับสมองคนให้เข้าสู่โหมด read-only ครับ ทั้งๆที่สัญชาตญาณที่มากับเทคโนโลยีที่เราปฏิเสธไม่ได้ในปัจจุบันมันเป็นโหมด read & write เด็กๆอยู่ฟังเพลงอยู่บ้าน มีคอมฯถูกๆเครื่องเดียวก็เอาสามารถเอาเพลงไปแต่งเพิ่ม ดัดแปลง หรือโหลดคลิ๊ปจากยูทูปมา remix และใช้มันเพื่อการแสดงออกถึงความรู้สึกและความคิดต่างๆที่พวกเขามีอยู่
(ดูคลิ๊ปแม้วแร็พข้างล่างเป็นตัวอย่าง pirate หรือไม่?) มันเป็นวัฒนธรรมของเขา
หากไปบอกว่าสิ่งนี้ผิดกฏหมาย เป็น pirate แต่ก็ห้ามไม่ได้เพราะใครๆก็ทำได้มันก็จะเป็นการสร้างวัฒนธรรมใหม่ให้เด็กๆคิดว่ากฏหมายมันห่วยและมีไว้เพื่อฝ่าฝืน แล้วกฏหมายก็ผลักเขาเหล่านี้ให้หนีลงไปใต้ดิน
กฏหมายที่ไม่รู้ประสีประสาทำให้คนรุ่นใหม่ทั้งที่รู้ว่าเขาทำผิดกฏหมายอยู่แต่ก็ไม่สนใจและฝ่าฝืนเป็นเรื่องปรกติ
ผมเน้นอีกทีว่าพูดถึง user-generated content พูดถึงคนที่เอา content มาใช้เพราะเขาชอบและรักในสิ่งที่เขาทำเท่านั้น ไม่ได้พูดถึงพวกที่ก๊อปปี้เนื้อหาของคนอื่นมาปั๊มซีดีขาย
สินค้าที่มีต้นทุนจะต้องมีคนจ่ายนั้นเป็นจริงๆ ฉะนั้นการโหลดเพลงไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่หรือจำหน่ายบนพื้นฐานของผลประโยชน์ทางธุรกิจยังควรจะเป็นเรื่องที่ผิด
หากแต่จะมาบอกว่าเทคโนโลยีมันน่ากลัวนั้นผมคิดว่าเป็นคำพูดของนายหน้าที่เสียผลประโยชน์เกินไปหน่อย และหากจะห้ามเอามาเล่นซ้ำ ตัดแต่ง เพื่อความชอบส่วนตัวแล้ว ก็ห้ามไปเถิดครับ แต่ก็มีบริษัทอื่นที่เขาบอกว่าตามสบายทำแล้วเอามาแบ่งกันดูด้วย
ตึงเกินไปก็ปิดกั้นการพัฒนาครับ
หากเขียนผิดไปประการไดก็รุมสกรัมได้ครับ
จบครับ
แม้วแร็พ เอาเพลงคนอื่นมารีมิกซ์ เป็น piracy หรือเปล่า
ref:
https://lib1201fall2010.wordpress.com/tag/lord-blackstone/
http://en.wikipedia.org/wiki/Lawrence_Lessig
http://cyber.law.harvard.edu/is02/readings/ascap.html
http://www2.citypaper.com/news/story.asp?id=15510
Sunday, August 19, 2012
Saturday, August 18, 2012
Friday, August 17, 2012
Thursday, August 16, 2012
Wednesday, August 15, 2012
Tuesday, August 14, 2012
Monday, August 13, 2012
Sunday, August 12, 2012
Saturday, August 11, 2012
Friday, August 10, 2012
Thursday, August 9, 2012
ไปดู Dmitry Sitkovetsky / Chikara Iwamura & BSO มา
Rating: | ★★★ |
Category: | Other |
คนไปดูไม่เยอะครับ มาเล่นเมืองไทยไม่ค่อยมีคนดู มีแต่ผู้มีชื่อเสียงไฮโซคุ้นหน้าคุ้นตา
มีอาจารย์มหิดลหลายคน
คนญี่ปุ่นเยอะเพราะวาทยากรมาจากญี่ปุ่น เคยกำกับ NHK
ผมเจอจิระพันธ์ อังศวานนท์มา ดื่มกาแฟอยู่ข้างๆผม หน้าคุ้นมาก ใครว๊ะ
ผมมึนๆ ทีแรกตกใจนึกว่า Ryuichi Sakamoto
แต่ดูไปดูมาเอ๊ะคนไทย ผมเลยหวัดดีไว้ก่อนตามประสา ก็คุยกลับมาดี
ข้อดีของการนั่งหลังคือแอบถ่ายรูปได้ นอนฟังได้ แต่เสียงชัตเตอร์
อยู่ข้างในอย่างกับเสียงอาเฮียสับขาหมูบนเขียง ต้องรอตอนดนตรีดังๆถึงจะกล้ากดชัตเตอร์
หรือไม่ก็เอากล้องปัญญาอ่อนที่ไร้เสียงถ่ายเอา
คนดูไม่ค่อยมี ผมไปดูที่อื่นแบบนี้จองก่อนกันเป็นเดือนๆไม่งั้นไม่มีที่นั่ง
แถมเห็นเด็กๆเข้าไปดูกันเยอะ หลายคนเอาโน๊ตเพลงออกมากางดูก่อนการแสดงเริ่มเลย เล่นเอาหนาว
คอนเสิร์ตดนตรีคลาสสิคของนอกไทยไม่ดู คอนเสิร์ตคลาสสิคของไทยเองมันก็ไม่มีใครไปดูอีกนั่นล่ะ
ไม่ได้ดูมานานมาก แต่จำหน้าคุณหัวหน้าวงได้
ถ่ายคลิ๊ปมาพอเห็นบรรยากาศ
Wednesday, August 8, 2012
Arthur Lipsett | 1962
Rating: | ★★★ |
Category: | Movies |
Genre: | Documentary |
Joys, happiness, sorry and anxiety pieced together from pieces of sound and images Lipsett collected while working at the Canadian National Film Board.
Stanley Kubrick described it as "one of the most imaginative and brilliant uses of the movie screen and soundtrack that I have ever seen."
*Copyright Disclaimer Under Section 107 of the Copyright Act 1976, allowance is made for "fair use" for purposes such as criticism, comment, news reporting, teaching, scholarship, and research. Fair use is a use permitted by copyright statute that might otherwise be infringing. Non-profit, educational or personal use tips the balance in favor of fair use.
Tuesday, August 7, 2012
詩詞吟唱
Rating: | ★★★ |
Category: | Music |
Genre: | Classical |
Artist: | 吳至青 อู๋จื้้อชิง |
ฟังเพลงครับ คำอธิบายถ้าขี้เกียจก็ไม่ต้องอ่านก็ได้ครับ ผมก็เขียนไปเรื่อย หรือมีอารมณ์ก็ค่อยกลับมาอ่าน
แค่หลับตาลง เอนหลังแล้วก็ฟังเท่านั้นก็พอ มี ๑๑ เพลง เพราะไม่เพราะก็ลองดูครับ
ผมรู้จักซีดีแผ่นนี้มาจากการลองฟังในร้าน เห็นว่าปกสวย เสียงร้องก็ไม่ได้จัดว่าดีมาก
หากไม่พูดถึงดนตรีที่ออก minimalism และทำได้ดีแล้ว
เนื้อร้องนี่ล่ะครับที่เด่น ฟังไปสี่ห้าประโยคเท่านั้น โอ้โห..ใครแต่งเนี่ย
ตัดสินใจซื้อได้ทันทีเลย ไม่ได้ดูเลยด้วยซ้ำว่าเป็นเพลงของใคร
กลับมาบ้านดูปกซีดีถึงรู้ว่าเป็นเพลงของอู๋จื้อชิง ( 吳至青) ชื่อชุด 詩詞吟唱 หรือ Poetry Singing
ถึงกระจ่าง...เนื้อร้องเป็นบทกวีสมัยราชวงศ์ถัง ราชวงศ์ซ่ง น่าจะประมาณพันสี่ร้อยกว่าปี ศต.๑๑ หรือหลังจากนั้น
เช่นของหลี่อวี้ 李煜, เอี้ยนซู宴殊 ,จางจื้อเหอ 張志和 ฯลฯ ที่น่าจะดังๆและเคยได้ยินกันบ้าง
ก็อย่างเช่น กวีเพนจรหลี่ไป๋ 李白, ซูซื่อหรือซูตงโพ 蘇軾
อู๋จื้อชิงมีประวัติกล่าวถึงได้พอสมควร เป็นนักบำบัด เรียนโรงเรียนระดับท๊อปมาตั้งแต่เด็ก
จบ โท.วาสารศาสตร์ มหาวิทยาลัยท๊อปเช่นกัน เคยทำงานเป็น reporter
และเคยย้ายไปทำงานเป็นผู้ประกาศทีวีของสิงคโปร์ หลังจากนั้นจึงไปเรียน PhD.
ทางด้าน language pathology ที่อเมริกา
จริงแล้วศาสตร์ด้านนี้เข้าใจว่าถ้าจะเจาะลึกทางจีนจะต้องจบเอกภาษาจีนมาถึงจะตรง
ได้ยินมาว่าเป็นศาสตร์ cognitive science ที่ค่อนข้างจะอยู่ในยุคบุกเบิกและยังมีความไม่เข้าใจ
กันอยู่เยอะ เมื่อก่อนคนมีปัญหาทางนี้เขาว่าสมองหรือ hardware มีปัญหา
แต่พอมาหลังๆปรากฏว่ามันอาจไม่ใช่ มันมีเรื่อง software ในสมองของคนด้วย
เอาหมอมารักษาอย่างเดียวไม่ได้ ต้องใช้พวกที่เข้าใจภาษา semiology อย่างลึก
เข้าใจความมีพลังของ index, icon, symbol ศาสตร์แห่งสัญญะซึ่งถ้าเป็นภาษาจีนแล้ว
แม้แต่โซซูร์ หรือ Pierce ก็เขียนไว้ไม่คลอบคุมเพราะภาษาจีนมันเป็นภาษา logogram
ไม่เหมือนภาษาฝรั่ง อะไรพวกนี้มาศึกษา
บางคนสมองเสียพูดภาษาไม่ได้ แต่เขียนหนังสือได้ก็มี ตรงข้ามกันก็มี บางคนพูดไม่ได้
แต่พอได้ยินอะไรเหมือนสะกดพูดได้เลยก็มี คาดว่าตะวันตกไม่ค่อยมีผู้เชี่ยวชาญภาษาจีน
ไปเรียนฝั่งตะวันตกน่าจะได้อะไรกลับมาคนละอย่าง นอกเรื่องไปเยอะเลย
เมื่ออายุประมาณสิบปี ด้วยความบังเอิญแห่งโชคชะตา อู๋จื้อชิงผู้ที่รู้จักและจดจำบทกวีได้มากพอประมาณ
ได้พบกับชายชราที่เห็นแววของเธอ ชายชรามักจะรออยู่ที่หินก้อนใหญ่ปลายสะพาน
และสอนโคลงกลอนคัมภีร์โบราณให้แก่เธอ จากงานประพันธ์วรรณกรรมคลาสสิคจำนวนมาก
สิ่งที่ทำให้เธอหลงไหลวางไม่ลงก็คือการขับร้องบทกวี ความหมายของมันสดใส
ร่างกายรู้สึกปลดปล่อย จิตใจเปี่ยมปิติ ทำให้เขาขณะที่ยังเด็กเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับการขับกลอน
แล้วอธิบายได้ว่ารู้สึกเหมือนอิ่มเอมจากอาหารหรือสุราเล็กน้อย คล้ายถูกสะกดแต่สติยังสมบูรณ์
รู้สึกตัวเบาจะลอยขึ้นไปในอากาศเสียการทรงตัว
หลายปีต่อมาเมื่อมองกลับไปด้วยสายตาของมืออาชีพ การขับร้องบทกวีบางทีก็คล้ายกับการสะกดจิต
ซึ่งเต็มไปด้วยอำนาจการบำบัด ปรกติเสียงที่สวยงามมักจะมีคุณสมบัติก่อให้เกิดสั่นสะเทือนด้วยความถี่สูง
และให้ผลพลอยได้ด้านการบำบัด แต่ละวัฒนะธรรมมักจะมีการขับร้องหรือดนตรีที่ให้เสียงแบบนี้
เป็นองค์ประกอบรวมอยู่ด้วยเสมอ เป็นสิ่งที่แสดงออกถึงจิตวิญญานรากเหง้าของเผ่าพันธ์
และโดยทั่วไปมักจะเป็นบ่อเกิดแห่งความมั่นใจหรือความเชื่อมันในตัวเองของคนในแต่ละอารยธรรม
การขับร้องบทกวีจีนก็มีคุณสมบัติดังกล่าวซึ่งคงไว้ด้วยความงดงามก้าวข้ามมิติแห่งเวลาตกทอดถึงชนรุ่นหลัง
ความงดงามของบทกวีโบราณถูกฝังลึกในตัวอู๋จื้อชิงตั้งแต่เยาว์วัย เธออาศัยอยู่ชานเมืองหลวง
เวลาเลิกเรียนกลับบ้านจะต้องเดินผ่านภูเขา ระยะทางไม่ใกล้นักและต้องข้ามสะพานหลายแห่ง
คนที่สอนบทกวีภาษาและการขับกลอน ( 國學 ) ให้เธอได้รู้ซื้งกลับเป็นชายชราที่พบกันโดยบังเอิญที่สะพานแห่งหนึ่ง
(ของเขาจะเรียกวิชาภาษาจีนว่า 國學 แปลว่า “ชาติศึกษา” ไม่ได้เรียกว่า “วิชาภาษาไทย” หรือ “วิชา
ภาษาอังกฤษ” แบบไทยเรา คือของเขาเรียนภาษา บทกลอน และเรียนคำภีร์โบราณ ปราชญ์ ปรัชญา
เมธี ทั้งหลายด้วย เรียนรวมกันหมด เรียกว่าเป็นวิชาว่าด้วยอารยธรรมจีน ผมอธิบายแบบนี้สงสัยกัน
หรือเปล่าครับว่าทำไมวัฒนธรรมจีนมันถึงสิบทอดได้ดี ไม่ใช่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลย
แต่ว่ามันเหนียวแน่น ไทยเราแค่จะหาคนท่องสุนทรภู่ได้นี่ก็ยากแล้ว มันไม่จำเป็นต่อชีวิต
อู๋จื้อชิงบอกว่าจำไม่ได้ว่าเริ่มต้นสนทนากับชายชราผู้นี้ได้อย่างไร อาจจะเป็นเพราะเขาบังเอิญได้ยินเธอท่องจำ
บทกลอนที่แม่ของเธอได้สอนเอาไว้มากโขดังๆขณะที่เธอเดินกลับบ้านทำให้ชายชราประทับใจและบอกว่า
หวังว่าจะได้เป็นครูเพื่อสอนสิ่งดีๆให้ หลังจากนั้นชายชราก็จะมารอเพื่อสอนหนังสือให้เป็นเวลาปีกว่า
จนกระทั่งเธอต้องย้ายไปอาศัยที่อื่น
ในเวลาปีกว่านั้นมีสิ่งที่เธอได้เรียน ว่าด้วยอารยธรรมจีน classical scripture ฯลฯ มากมาย
แต่สิ่งที่เธอจดจำหลงไหลแบบลืมไม่ลงก็คือการขับกลอน ตอนเด็กๆก็ไม่เข้าใจวิธีการร้องก็เลยมี
ความรู้ต่างๆตกหล่นไปบ้างเพราะไม่รู้ถึงความมีคุณค่าของมัน แต่ที่จำได้แม่นยำคือบทกวีของ หลี่โหวจู่
(หลี่อวี้李煜) ชื่อว่าเซียงเจี้ยนฮวน相見歡หรือ Joyous Reunion เพราะทำให้เธอพบกับ
ประสบการณ์มึนงงตัวเบาคล้ายถูกสะกด อะไรจะขนาดนั้น เดี๋ยวผมจะลองอธิบาย
แต่จะขอกล่าวถึงหลี่อวี้ 李煜สักนิด
หวี่อวี้ 李煜 เป็นกษัตริย์ราชวงศ์ถังใต้องค์สุดท้าย http://en.wikipedia.org/wiki/Li_Houzhu
มีมเหสี ๒ องค์เป็นพี่น้องกัน เป็นกษัตริย์ที่ไม่เก่งทางด้านการปกครอง แต่เป็นเลิศอย่างหาที่เปรียบไม่ได้
ทางด้านการเป็นนักกลอน นักหนังสือ ภาพวาด ดนตรี ฯลฯ จึงต้องพ่ายแพ้แก่ศัตรูและตกเป็นเชลย
ถูกจับขังไว้ในราชวังของราชวงศ์ซ่งตอนต้นพร้อมกับมเหสี(ยังดี ยิ่งถ้ามีอินเตอร์เน็ทด้วยยิ่งแจ๋ว)
และต่อมามเหสีคนน้องก็ถูกน้องชายกษัตริย์ซ่งขืนใจ จึงกล่าวคำน้อยใจขึ้นมา
ต่อมาจึงถูกบังคับให้เสวยยาพิษเพื่อเป็นการประหาร บทกลอนที่แต่งไว้จะมีสองแบบคือก่อนสงคราม
จะเป็นเรื่องความสุขชายหญิงหวานชื่น และหลังจากถูกกักขังจะเป็นเรื่องอาลัยอาวรในชะตาชีวิต
น้อยใจที่ปกป้องภรรยาตัวเองไม่ได้และคิดฝันถึงอดีตเก่าๆและบ้านเมืองที่เสียไป (ref: 龙德 )
เพลงแรกใน play list ที่ผมแปะไว้นี่ล่ะครับฝีมือการแต่งของหวี่อวี้ที่ผมฟังไม่กี่ประโยคก็ตัดสินใจซื้อ
สำหรับการฟังเพลงแล้วเกิดอาการมึนงงเคลิบเคลิ้มเสียการทรงตัวลองไปถามฝรั่งพวกที่ชอบฟังเพลง
Trance อาจจะบอกว่าเป็นไปได้ ไม่แปลก แต่คำอธิบายด้วยภาษาการแพทย์ตะวันตกคือ
การขับกลอนสามารถทำให้เกิดการกระตุ้นต่อระบบประสาทสมองคู่ที่ ๘ และคู่ที่ ๑๐ (ไปถามแพทย์),
ระบบหูชั้นใน และระบบควบคุมการทรงตัว และเกิดการกระตุ้นต่อ pineal gland (ควบคุมนาฬิกา
ชีวะภาพ), pituitary gland เรื่องการหลั่ง happy hormone จึงทำให้รู้สึกปิติ
ตัวเบาพึงพอใจจนถึงกับเสียศูนย์และคล้ายมึนเมา
.
เอาศาสตร์จีนอธิบายได้โดย 五音 หรือฉันท์ห้าทางดนตรี หรือ pentameter ภาษาจีนเรียกแต่ละตัว
ว่า角(jiǎo), 徵(zhǐ), 宮(gōng), 商(shāng), 羽(yǔ) อ่านว่า เจี่ยว, จื่อ, กง, ซัง, อวี่ ซึ่งก็แทนตัวโน๊ต
๕ ตัวในสเกล pentatonic นั่นเอง
ถึงตรงนี้ผู่อ่านลองไปหาเพลงพื้นเมืองโบราณ เพลงโฟล์คทั่วโลกมาฟังดู จะเห็นว่าเป็น pentatonic
scale เกือบหมดโลกคือมีโน๊ตแค่ ๕ ตัว รวมทั้งเพลงไทยเดิมด้วย ประหลาดดีแท้
จีนอธิบายเรื่องนี้ไว้หลายอย่างตั้งแต่สมัยสองพันหกร้อยกว่าปีมาแล้วคือ三分損益法 และกล่าวว่า
โน๊ต ๕ ตัว 角徵宮商羽 มีปฏิสัมพันธ์กับธาตุ น้ำ ไฟ ทอง ไม้ ดิน หรือกับฤดูต่างๆด้วย
ที่มาของ 角徵宮商羽 บางตำราบอกว่าแต่ละตัวมาจากรอบการโคจรของดวงดาวในดาราศาสตร์
มีใช้ 角徵宮商羽 แทน民事君臣物 (หมิง, ซื่อ, จวิน, เฉิน, อู้ คือ people, thing,
monarch, minister, matter) ด้วย ไปเกี่ยวกับฟงส่วยฮวงจุ้ยอะไรไปโน่นอีก
ถึงตรงนื้จะเห็นว่าศาสตร์ตะวันออกมัน holistic มาก คือเป็นองค์รวม ทุกอย่างเกี่ยวกันหมด
พูดได้อีกชาติหนึ่งก็ไม่จบ
กลับมาถึงดนตรีกับร่างกาย โน๊ต 角徵宮商羽 มีผลต่ออวัยวะ ๕ อย่างคือ ตับ หัวใจ ม้าม ปอด และไต และ
สติอารมณ์ ๕ ประการคือ โกรธ ชอบ ใคร่ครวญ กังวล หวาดกลัว ดั่งบันทึกประวัติศาสตร์ ดนตรีว่า
สามารถกระตุ้นระบบหมุนเวียนเลือดและระบบประสาท 宮(กง) กระตุ้นม้าม, 商(ซัง) กระตุ้นปอด,
角(เจี่ยว) กระตุ้นตับ, 徵(จื่อ) กระตุ้นหัวใจ, 羽(อวี่) กระตุ้นไต
มีบันทึกโบราณทางการแพทย์จีนกล่าวไว้ด้วยว่า “ดับโทสะไม่เปรียบบทกวี ดับลุ่มร้อนไม่เปรียบดนตรี”
อาจจะเป็นเพราะเพลง "เซียงเจี้ยนฮวน" ที่เขาร้องเป็นทั้งบทกวีที่สวยงามและมีท่วงทำนองที่ไพเราะ
จึงไม่เพียงลดโทสะดับความว้าวุ่นแต่ยังมีผลต่อระบบประสาทและอวัยวะดังกล่าวจึงทำให้เกิด
ประสบการณ์แปลกๆขึ้นได้
.
ใช้ศาสตร์สมัยใหม่แห่งการบำบัดอธิบายได้ว่าการขับร้องบทกวีมีความเป็นสัทวิทยาสูง (phonology)
ก็คือมีเสียงไพเราะคล้องจอง มีความหมายสวยงามและไวยากรณ์ถูกต้องตามหลักวากยสัมพันธ์และ
อรรถศาสตร์ ทำให้ร่างกายสร้างการสั่นสะเทือนละเอียดอ่อนความถี่สูงชนิดหนึ่งขึ้นมา (วัสดุทุกอย่างมี
ความถี่ของตัวเองทั้งสิ้น) ส่วนของความไม่สมดุลย์ความถี่ต่ำในร่างกายเนื่องจากได้รับผลกระทบจึงเกิด
resonance ขึ้นมาเพื่อปรับสมดุลย์เข้าสู่สภาพปรกติ (ไปถามแพทย์) และนอกจากนั้นแต่ละบาท
ของกลอนเซียงเจี้ยนฮวนจะมีเสียงสัมผัส “เวิง” เวลาลากเสียงยาวๆช้าๆฟังดูคล้ายกับเสียงสวด “โอม”
คำสวด “โอม” นับว่าเป็นคำศักสิทธิ์เก่าแก่ที่สุดคำหนึ่งของมนุษย์ แต่มีลักษณะการออกเสียงที่แตกต่าง
กันออกไปในแต่ละสถานที่และระหว่างผู้ค้นคว้าทั้งหลาย บางทีก็เป็น Aum, Um, Om, Ung,
Ang หรือ Ong หรืออย่างเช่นคำว่า “ฮาวายอี” ก็ด้วย ทั้งนี้อะไรที่สามารถก่อให้เกิดการคลื่นสั่น
สะเทือนความถี่สูงมีผลต่อการบำบัดและที่สำคัญผนวกกับจิตใจที่สะอาดผุดผ่องมีสมาธิก็จะเป็นการทำ
ความสะอาดจิตใต้สำนึกหวนสู่ความกลมกลืนกับจักรวาล ก็นับได้ว่าเป็นสิ่งเดียวกันแต่เพียงแค่มาจากต่าง
วัฒนธรรมกันเท่านนั่นเอง เมื่อรวมกันสองสิ่งทำให้เกิดเป็นความรู้สึกประหลาดๆดังกล่าว
.
ที่จริงดนตรีในอัลบั้มชุดนี้ก็ไม่เชิงเป็นทำนองโบราณแบบที่อธิบายไว้ข้างบน ภาษาจีนก็ไม่ใช่ภาษาที่มี
เสียงเพราะที่สุดในโลก ผู้ที่ไม่เข้าใจภาษาจีนเลยอาจเข้าถึงยากหน่อยแต่ผมว่าโดยทั่วไปก็เพราะน่าฟังดี
บางเพลงมันจะออกงิ้วๆนิดๆแต่ก็ไม่มาก คนไม่คุ้นก็อาจไม่ชอบ ผมเองก็ไม่ได้ชอบฟังงิ้วมากมาย หรือ
อย่างฟังโอเปร่าผู้หญิงร้องแล้วที่เพราะๆก็มี แต่ที่ฟังแล้วรำคาญก็เยอะ สรุปคือเหมือนกับที่ได้อธิบายไว้
ว่ามันต้องมาจากรากเง่าของวัฒนธรรมของใครของมันถึงจะเกิดสภาวะคุ้นเคยสะท้อนอยู่ในหัวใจได้
ผมเอาเนื้อกวีเพลงแรกในอัลบั้มคือ 浪淘沙ลั่งเถาซา หรือ คลื่นซัดทรายมาให้อ่านเล่น มีคนแปลไว้ แต่
แปลไม่ค่อยตรงกันหรอก บวกกับความหมายที่หายไปเมื่อเปลี่ยนเป็นภาษาอื่น
อยากรู้ต้นฉบับเพราะยังไงต้องไปเรียนภาษาจีนเอาครับ
.
浪淘沙 làngtáoshā คลื่นซัดทราย
帘外雨潺潺, liánwàiyǔchánchán, นอกม่านฝนพรำสาย
春意阑珊。 chūnyì lánshān.ใบไม้ผลิจวนอำลา
罗衾不耐五更寒。 luóqīnbùnài wǔgènghán. ผ้าบางเบาฤาต้านคืนเหน็บหนาว
梦里不知身是客, mènglǐ bùzhī shēn shìkè, ในฝันมิรู้...ตนคือผู้มาเยือน
一晌贪欢。 yīshǎng tān huān. ชมชอบจะรื่นเริงร่ำไป
独自莫凭栏, dúzì mò pínglán, พิงราวรั้วเพียงลำพัง
无限江山, wúxiàn jiāngshān ภูผาธารธารากว้างไกล
别时容易见时难。 biéshí róngyì jiàn shínán.ยามพบยาก จากแสนง่าย
流水落花春去也, liúshuǐ luòhuā chūn qùyě, บุปผาวารีโปรยปราย…
天上人间。 tiānshàng-rénjiān. จากสวรรค์ชั้นฟ้าสู่แดนดิน
Outside the curtain, the rain murmurs,
Spring draws to an end.
The quilt cannot resist the fifth watch cold.
I did not realize I was a guest in my dream,
Coveting pleasure.
I should not be alone leaning on these railings,
While spread before me the limitless country,
It is easy to part but difficult to again meet.
Like fallen flowers on flowing water, spring is gone,
So is my paradise.
http://lostinchinese.blogspot.com/2010/06/waves-washing-sand.html