Monday, August 20, 2012

อาเฮียจะปิดกั้นความคิดคนเกินไปหรือเปล่า

Rating:
Category:Other
ยาวนิดหน่อยครับ สมาธิดีๆ จิตใจพร้อมไปด้วยศรัทธาก็ค่อยมาอ่านก็ได้ครับ หุหุ
=========================================


ผมแนะว่าให้ลองฟังคุณลุงในคลิ๊ปพูดเรื่องเทคโนโลยีมันน่ากลัวยังไงให้จบก่อนอ่านครับ



จริงๆทีแรกผมไม่สนใจ อยากเอาออกอยากห้ามทำอะไรก็ห้ามไป แต่ผมสะกิดใจตรงที่บอกคล้ายๆกับว่าเทคโนโลยีมันน่ากลัวนี่ล่ะ

ผมเคยเอาความเห็นของศิลปินมาเขียนไว้ว่า “เพลงเถื่อนเป็นเรื่องประเสริฐ โหลดได้โหลดไป, Joss Stone piracy is great”
http://hayyana.multiply.com/reviews/item/243

วันนี้จะเขียนเรื่องเผด็จการ content และการไม่เข้าใจสัญชาตญาณที่มากับเทคโนโลยี เพราะได้ข่าวมาว่าเขาห้ามเอาไปเล่นใหม่่ เอาไปรีมิกซ์ ห้ามหมด

ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้วคือผมจำเขามาหรืออ่านๆมาทั้งหมด แทบจะไม่มีอะไรที่ผมคิดเองเลย 5555

.


คุณลุงแกบอก “เจ้าของเทคโนโลยีเขาจะทำอะไรขึ้นมาเขาจะคำนึกถึงเจ้าของสิทธิ์” พูดถึงความน่ากลัวของเทคโนโลยี่ เรื่องกฏหมายลิขสิทธิอะไรต่างๆ

พูดง่ายๆย่อๆคือเราเอาเพลงเขามาฟังในมือถือไม่ได้ เอามาเล่นไม่ได้ เอามาตัดแต่งไม่ได้ ต้องจ่ายตังค์ จริงๆเรื่องนี้เมืองนอกก็มีปัญหาความล้าหลังของกฏหมายครับ


เทคโนโลยีนำอะไรมาครับ เมื่อพูดถึงเรื่องเนื้อหาที่สร้างโดยผู้คนทั่วไปใครก็ตามหรือ user-generated content


มีตัวอย่างความไม่ทันเทคโนโลยีมายกให้ดู ๓ ตัวอย่าง


๑)

เมื่อก่อนจะฟังเพลงคือต้องฟังเล่นสดๆร้องสดๆเท่านั้น เชื่อหรือไม่ว่าคราวที่เรามีเครื่องอัดเสียงเกิดขึ้นมาบนโลกก็มีคนต่อต้านเครื่องอัดเสียงมากมาย

บอกว่ามันจะทำลายความสวยงามของดนตรี นักร้องยุคแรกๆที่ต่อต้านการอัดเสียงก็มีเยอะอย่างที่ผมชอบแล้วจำได้ก็มี Nellie Melba คนหนึ่งล่ะ

.


ที่หนักเลยในอดีตและเป็นกรณีศึกษาก็อย่างเช่น John Phillip Sausa http://en.wikipedia.org/wiki/John_Philip_Sousa

ที่นำเอาเรื่องเครื่องอัดเสียงที่บางทีสมัยนั้นเรียก Talking Machine เข้าสภาคองเกรส (๑๙๐๖) บอกว่า “เจ้าเครื่อง talking machine นี้จะทำลายการพัฒนาทางด้านสุนทรียศาสตร์ทางดนตรีในประเทศอเมริกา” เขากล่าวถึงเด็กๆทุกบ้านที่นั่งร้องเพลงเก่าๆด้วยกันตอนเย็นๆฤดูร้อนจะถูกแทนที่ด้วยไอ้เครื่องนรกนี่ที่เปิดเสียงได้ทั้งวันทั้งคืน จะทำให้เส้นเสียง vocal cord หายไปจากมนุษย์เพราะถูกตัดออกจากกระบวนการวิวัฒนาการเช่นเดียวกับหางที่หายไปเมื่อตอนที่เราพัฒนามาจากลิง

เหมือนที่คุณลุงในคลิ๊ปบอกว่าเทคโนโลยีมันน่ากลัวหรือเปล่าครับ ทุกวันนี้ทีเครื่องอัดเสียงเต็มไปหมดแถมมนุษย์พูดมากกว่าเดิมเสียด้วยซ้ำ

.


๒)

มาเรื่องเทคโนโลยีที่มาใหม่กับสิทธิการเป็นเจ้าของกันบ้าง

เมื่อก่อนสิทธิการเป็นเจ้าของที่ดินถูกคุ้มครองโดยกฏหมายบุกรุก โดย Lord Blackstone

( http://en.wikipedia.org/wiki/William_Blackstone )

อธิบายไว้ว่า กฏหมายปกป้องการบุกรุกอาณาเขตลึกลงไปใต้ธรณีและสูงขึ้นไปในอากาศ (infinite extent upward) คือสูงขึ้นไปไร้ขอบเขตจำกัด

แปลว่า UFO บินผ่านหลังคาบ้านสูงขึ้นไป ๕๐๐ กิโลเมตรก็ผิดกฏหมาย

เนื่องจากเมื่อก่อนนอกจากนกแล้วไม่มีอย่างอื่น แต่เผอิญวันหนึ่งมีคนสร้างเครื่องบินขึ้นมา แล้วดันไปบินผ่านบ้านของชาวบ้าน

ซึ่งในปี ๑๘๔๕ มีกรณีนี้เกิดขึ้นกับชาวนาสองคนชื่อ Lee & Tinie Causby โดยเขาบอกว่าเครื่องบินทำให้เดือดร้อน

ไก่ที่เลี้ยงมีพฤติกรรมเลียนแบบเครื่องบิน บินตามเอาหัวโหม่งกำแพงตาย หากพวกเขาไปฟ้อง Lord Blackstone เพื่อเรียกร้องความเสียหายล่ะ

ดูไร้สาระนะครับ แต่เมื่อก่อนมันเป็นเรื่องถกเถียงกันขึ้นโรงขึ้นศาลชี้ให้เราเห็นช่องว่างของกฏหมายต่อเทคโนโลยีที่มาใหม่

ยังดีที่ผู้พิพากษา Douglas แห่งศาลสูงสุดไห้คำร้องเป็นอันตกไป เพราะมิฉะนั้นเครื่องบินโดยสารข้ามทวีปก็ไม่ต้องบินกัน

เป็นสามัญสำนึกใช่หรือไม่ ผมอยากให้ลองนึกถึงเรื่องเพลงดู ถ้าเผอิญคุณไปได้ยินเพลงมาจากที่ไหนแล้วจำจนร้องได้

เล่นกีตาร์ได้ วันดีคืนดีอยากจะโชว์เพื่อนเลยเล่นกีตาร์ร้องเพลงอัปโหลดขึ้นยูทูป อย่างนี้ผิดกฏหมายหรือเปล่า??????

หรือคุณจะต้องฝังเพลงที่ได้ยินไว้ในหลุมแห่งความทรงจำเสมอเพราะว่าคุณไม่ใช่ original creator of content เช่นนั้นหรือ

.





๓)

ลึกลงมาในเรื่องเพลงอีกหน่อย สมัยโบราณการแต่งเพลงจะแต่งให้เศรษฐีหรือขุนนางฟัง เวลาจะฟังก็ต้องฟังสดเท่านั้น ชาวบ้านอยากฟังก็ต้องมีเพลงของตัวเอง

ช่วงหลังๆถึงมีการแต่งเพลงเพื่อมวลชน ทีนี้ก่อนที่จะมีอินเตอร์เน็ท เทคโนโลยีที่เกิดขึ้นมาและเขย่าอุตสาหกรรมเนื้อหาหรือ content industry ก็คือการกระจายเสียงและแพร่ภาพออกอากาศ หรือ broadcasting technology ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นมาแล้วหัวหอกของเทคโนโลยีนี้ก็คืออเมริกา

ซึ่งช่วงแรกๆสิทธิการถ่ายทอดสด กระทำซ้ำ ออกอากาศ แสดงสด ฯลฯ ล้วนแต่ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของ ASCAP

(American Society of Composers & Publishers) อยู่เจ้าเดียว

http://en.wikipedia.org/wiki/American_Society_of_Composers,_Authors_and_Publishers



องค์กรนี้ไม่ใช่ศิลปินแต่รับศิลปินเป็นสมาชิก

แล้วก็เก็บเงินค่าลิขสิทธิ์จากผู้เอาผลงานไปเปิดหรือใช้แล้วก็หักค่าดำเนินการจากศิลปิน ฟังดูแล้วแฟร์ดี แต่ว่าการมีอำนาจผูกขาดทำให้ละโมบ



ช่วงปี ๑๙๓๑ ถึง ๑๙๓๙ ASCAP ขึ้นค่าลิขสิทธิ์เพลงไปถึง ๔๔๘% แถมไม่พอจะขึ้นอีกสองเท่า เหล่าบันดาสถานีวิทยุ ผู้ออกอากาศ หรืออื่นๆ

ที่มีความจำเป็นจะต้องใช้เพลงก็เริ่มทนไม่ได้จึงเป็นที่มาของการจัดตั้ง BMI (Broadcasting Music Incorporated) เพื่อต่อต้าน ASCAP พอจะคุ้นๆแล้วใช่มั๊ยครับ



ทั้งนี้ในช่วงระยะเวลา ๑๐ เดือนในปี ๑๙๔๑ เพลงทั้งหมดของ ASCAP ประมาณ ๑,๒๕๐,๐๐๐ เพลงถูกแบนจากสถานีวิทยุ NBC และ CBS โดยสถานีเปิดแต่เพลง

จาก BMI แทน ซึ่งทาง BMI ได้รวมเอาเพลงท้องถิ่นพวก R&B, African American, Country ซึ่งเพลงพวกนี้แต่ก่อนนั้นถูกปิดกั้น

จากการเข้าถึงโดย ASCAP เข้าไว้ด้วย แต่ที่สำคัญเลยคือ BMI เข้าไปสู่ขอบเขตมหาชนได้โดยวิธีทำสัญญาข้อตกลงและให้ฟรีต่อสมาชิก

เพราะเหตุนี้ช่วงที่ ASCAP ต้องการจะขึ้นค่าลิขสิทธิ์เป็นสองเท่า เหล่าบันดาผู้กระจายเสียงส่วนมากก็เลยแห่ไปอยู่กับ BMI กันเกือบหมด

แต่ ASCAP ก็ไม่สนใจและบอกว่าผู้ฟังจะต่อต้านเองเพราะจะไม่มีเพลงดีๆออกมาให้ฟังอีกต่อไป แต่ ASCAP คาดผิด ไม่มีผู้ต่อต้าน และธุรกิจเพลงมันก็เดินไปได้ตามวิถีของมัน กฏของ ASCAP จึงพังลงและต้องยอมเก็บค่าลิขสิทธิ์ในอัตราที่ต่ำกว่ามาก นอกจากนั้นยังมีเรื่องที่เป็นข้อวิจารณ์อีกหลายเรื่องเช่นเรื่องที่ ASCAP ขู่จะจัดการทางกฏหมายกับกลุ่มลูกเสือและเนตรนารีที่เอาเพลงในลิขสิทธิ์ของ ASCAP ไปร้องในค่ายพักแรม จะเห็นว่ากฏหมายบางทีก็ไม่ได้สมเหตุสมผลและปกป้องนายทุนจนเกินไปคล้ายๆกับกรณีคนเก็บขยะเอา DVD เก่าไปขายถูกปรับสองแสน (พกปืนไม่มีใบอนุญาตถูปรับไม่กี่พัน)

.

.



จากทั้งสามกรณี ใครจะอยากเอาเพลงออกจากยูทูปหรือห้ามเอาเพลงมาใช้ก็ทำไปเถิดครับ ผู้ฟังเขาไปหาฟังเอาที่อื่นได้

แต่การที่บอกว่าเทคโนโลยีมันน่ากลัวผมคิดว่ามันเกินจริงไปหน่อย พอไม่มี ASCAP ก็ไม่มีใครตาย ยิ่งพอมีอินเตอร์เน็ท แชร์กันระเบิด ยิ่งบอกได้เลยว่าไม่มียุคไหนที่ดนตรีมีการสร้างสรรค์และหลากหลายเท่ากับยุคนี้ จะเอาแนวไหนเพราะพริ้งหรือพิเรนยังไงมีหมด

คนเล่นดนตรีอยู่ตามบ้านบางทีทำเพลงออกมาดีกว่างานที่ผ่านการจัดการของนายทุนเสียด้วยซ้ำ คนฟังเข้าถึงคนสร้างได้โดยตรง มันส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ ต่อยอดปัญญาจากความรู้เดิม และมันจะเป็นตรงกันข้ามแน่นอนถ้าถูกคลุมด้วยลิขสิทธิ์ ตัวลิขสิทธินี่ล่ะหากใช้เกินขอบเขตแล้วมันครอบความคิดสร้างสรรค์และถ่วงความเจริญ


เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ทมันทำให้มีการโต้ตอบระหว่างผู้สร้างผลงานกับผู้สะดับ หากจะห้ามใช้เพลงเลยใครจะใช้เพลงต้องจ่าย โหลดเข้ามือถือ ริงโทนเอาเพลงไป cover remix ฯลฯ ผิดกฏหมายหมด อย่างงี้มันเป็นการบังคับสมองคนให้เข้าสู่โหมด read-only ครับ ทั้งๆที่สัญชาตญาณที่มากับเทคโนโลยีที่เราปฏิเสธไม่ได้ในปัจจุบันมันเป็นโหมด read & write เด็กๆอยู่ฟังเพลงอยู่บ้าน มีคอมฯถูกๆเครื่องเดียวก็เอาสามารถเอาเพลงไปแต่งเพิ่ม ดัดแปลง หรือโหลดคลิ๊ปจากยูทูปมา remix และใช้มันเพื่อการแสดงออกถึงความรู้สึกและความคิดต่างๆที่พวกเขามีอยู่

(ดูคลิ๊ปแม้วแร็พข้างล่างเป็นตัวอย่าง pirate หรือไม่?) มันเป็นวัฒนธรรมของเขา

หากไปบอกว่าสิ่งนี้ผิดกฏหมาย เป็น pirate แต่ก็ห้ามไม่ได้เพราะใครๆก็ทำได้มันก็จะเป็นการสร้างวัฒนธรรมใหม่ให้เด็กๆคิดว่ากฏหมายมันห่วยและมีไว้เพื่อฝ่าฝืน แล้วกฏหมายก็ผลักเขาเหล่านี้ให้หนีลงไปใต้ดิน

กฏหมายที่ไม่รู้ประสีประสาทำให้คนรุ่นใหม่ทั้งที่รู้ว่าเขาทำผิดกฏหมายอยู่แต่ก็ไม่สนใจและฝ่าฝืนเป็นเรื่องปรกติ


ผมเน้นอีกทีว่าพูดถึง user-generated content พูดถึงคนที่เอา content มาใช้เพราะเขาชอบและรักในสิ่งที่เขาทำเท่านั้น ไม่ได้พูดถึงพวกที่ก๊อปปี้เนื้อหาของคนอื่นมาปั๊มซีดีขาย

สินค้าที่มีต้นทุนจะต้องมีคนจ่ายนั้นเป็นจริงๆ ฉะนั้นการโหลดเพลงไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่หรือจำหน่ายบนพื้นฐานของผลประโยชน์ทางธุรกิจยังควรจะเป็นเรื่องที่ผิด



หากแต่จะมาบอกว่าเทคโนโลยีมันน่ากลัวนั้นผมคิดว่าเป็นคำพูดของนายหน้าที่เสียผลประโยชน์เกินไปหน่อย และหากจะห้ามเอามาเล่นซ้ำ ตัดแต่ง เพื่อความชอบส่วนตัวแล้ว ก็ห้ามไปเถิดครับ แต่ก็มีบริษัทอื่นที่เขาบอกว่าตามสบายทำแล้วเอามาแบ่งกันดูด้วย





ตึงเกินไปก็ปิดกั้นการพัฒนาครับ

หากเขียนผิดไปประการไดก็รุมสกรัมได้ครับ



จบครับ


แม้วแร็พ เอาเพลงคนอื่นมารีมิกซ์ เป็น piracy หรือเปล่า



ref:

https://lib1201fall2010.wordpress.com/tag/lord-blackstone/

http://en.wikipedia.org/wiki/Lawrence_Lessig

http://cyber.law.harvard.edu/is02/readings/ascap.html

http://www2.citypaper.com/news/story.asp?id=15510

No comments:

Post a Comment